การบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรขนาดเล็กด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม

ผู้แต่ง

  • ฐิติกร จิ้วไม้แดง
  • น้ำผึ้ง ดุงโคกกรวด
  • สุรชัย อังคนาสายัณห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรขนาดเล็ก โดยหาอัตราส่วนที่
เหมาะสมของจุลินทรีย์อีเอ็ม และระยะเวลาที่เหมาะสมที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร ขนาดเล็ก วิธีการศึกษาทำโดยการ
เก็บตัวอย่างน้ำจากฟาร์มสุกรขนาดเล็กในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เก็บตัวอย่าง น้ำเสียแบบจ้วง เก็บน้ำในจุดที่เป็นบ่อพัก
รวมน้ำเสียของฟาร์มสุกรนั้น (ทดลอง 3 ซ้ำ) นำน้ำเสียมา ตรวจวัดพารามิเตอร์ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) ค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD) ค่าความต้องการออกซิเจนทางเคมี (COD) ของแข็งแขวนลอย (SS) และ
ไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ One-way ANOVA และ
Kruskal-Wallis ANOVA
ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย pH, BOD, COD, SS และ TKN ของน้ำเสียจากฟาร์มสุกรขนาด
เล็กหลังการบำบัดด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มในอัตราส่วนจุลินทรีย์อีเอ็มต่อปริมาตรน้ำเสียที่แตกต่างกัน กับกลุ่มควบคุม (1: 1,000 1:
2,000 1: 3,000 1:4,000 และ 1: 5,000) มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่อัตราส่วน 1: 1,000 เมื่อเปรียบเทียบกับ
น้ำเสียในกลุ่มควบคุม มีค่า BOD ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด (p-value = 0.004) และ มีค่า COD ที่มี
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด (p-value = 0.004) และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนน
เฉลี่ย pH, BOD, COD, SS และ TKN ของน้ำเสียจากฟาร์มสุกรขนาดเล็กหลังการบำบัดด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มในระยะเวลาการ
บำบัดต่างกัน กับกลุ่มควบคุม (2 วัน, 4 วัน, 6 วัน, 8 วัน และ 10 วัน) โดยที่ระยะเวลาในการบำบัด 10 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำ
เสียกลุ่มควบคุมและกลุ่มหลังบำบัด ในทุกพารามิเตอร์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยที่ระยะเวลา
การบำบัด 6 วัน ค่า SS มีร้อยละการลดลงสูงสุด ส่วนที่ระยะเวลาการบำบัด 10 วัน ค่า BOD, COD และ TKN มีร้อยละการ
ลดลงสูงสุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07