แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน12 คน โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 5-25 มิถุนายน 2561 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบาย ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 อายุเฉลี่ย 38.50 ปี (S.D.=9.99 ปี) อายุต่ำสุด 23 ปี, อายุสูงสุด 59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 64.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 87.5 มีรายได้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รายได้เฉลี่ย 28,839 บาท (S.D.=11,828.44 บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาท รายได้สูงสุด 54,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ต่ำกว่า10 ปี คิดเป็นร้อยละ51.5 มีค่ามัธยฐาน 10.0 ปี (Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี)

แรงจูงใจภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย3.78 (S.D.=0.45) สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.40) แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r=0.534, p-value<0.001) ส่วนปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหา  ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงานและคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก โดยทั้ง 7 ตัวแปร มีผลและร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3

Author Biography

เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

นายเทพอินทร  เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา

รหัสนักศึกษา 595110029-2

สาขาวิชา การบริหารสาธารณสุข

คณะสาธารณสุขศาสตร์  

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

References

โกศล ศิริจันทร์, & ประจักร บัวผัน. (2559). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 7(4), 58-66.

จิรัฏฐิติ ไทยศิริ, & ประจักร บัวผัน. (2556). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(1), 123-134.

ทินกร ถาวรแสง, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2559). ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เมืองแห่งความสุขของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 9(3), 38-48.

วันเพ็ญ ภูผาพันธ์, & ประจักร บัวผัน. (2554). การบริหารของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน ในจังหวัด นครราชสีมา. วารสารวิจัย มข., 16(7), 845-853.

ศันสนีย์ วงค์ม่วย, & วิทิศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่ม, 6(3), 46-54.

ศิราณี เสนานุช, & ประจักร บัวผัน. (2560). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 10(1), 63-73.

สันติ ธรณี, & ประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 14(1), 89-104.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายชื่อและจำนวนนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด.

อนัญญา ขุนศรี, & ประจักร บัวผัน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(1), 52-59.

อาคม ปัญญาแก้ว, & ประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 16(7), 855-863.

Hertzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. B. (2010). The motivate to work. New Brunwisk, NJ: Transaction Publicaton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31