ผลของหัวเชื้อจุลินทรีย์ต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียยางก้อนถ้วยด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ

ผู้แต่ง

  • สุธาริณี สุริยนต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • พฤกษ์ ตัญตรัยรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ฤทธิรงค์ จังโกฎิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

หัวเชื้อจุลินทรีย์, น้ำเสียยางก้อนถ้วย, ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ, ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเติมจุลินทรีย์ที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียยางก้อนถ้วยที่บำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียชนิดไร้อากาศ ซึ่งน้ำเสียยางก้อนถ้วยเป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกในรูปของ BOD และ COD สูงมาก มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง เกิดจากการคายตัวของซีรั่ม ในน้ำยางพาราไหลออกมาจากยางก้อนถ้วย ในการทดลองใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ ปริมาตร 20 ลิตรใช้การเดินระบบแบบทีละเทจำนวน 2 ชุดการทดลอง แบ่งเป็นชุดการทดลองที่ 1 ไม่เติมจุลินทรีย์ และชุดการทดลองที่ 2 เติมจุลินทรีย์ทางการค้ายี่ห้อ BIO100 ปริมาณ 0.63 กรัม/ลิตรโดยเก็บตัวอย่างทุก 5 วัน เป็นเวลารวม 60 วัน ทำการทดลอง 3 ซ้ำ และนำมาตรวจวิเคราะห์ค่า BOD COD และ SS จากผลการทดลองพบว่า ชุดการทดลองที่ 1 มีประสิทธิภาพในการบำบัดค่า BOD COD และ SS ได้สูงสุดร้อยละ 59.05 51.19 และ 51.82 ตามลำดับ ส่วนชุดการทดลองที่ 2 มีประสิทธิภาพในการบำบัดค่า BOD COD และ SS ได้สูงสุดร้อยละ 68.85 72.02 และ 74.97 ตามลำดับ ที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 55 วัน ทั้ง 2 ชุดการทดลองเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดของชุดการทดลองที่ 1 และ 2 ด้วยสถิติ Mann-Whitney U test พบว่าการเติมจุลินทรีย์ BIO100 มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียยางก้อนถ้วยด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Author Biography

สุธาริณี สุริยนต์, คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม  คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2537). โครงการจัดทำคู่มือดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียและการใช้มาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคาร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. (2543). วิศวกรรมการกำจัดน้ำเสีย เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต.

จันทิมา ยาเกิ้น. (2553). การใช้แกลบ ถ่าน และลูกบอลพลาสติก เป็นตัวกลางในถังกรองไร้อากาศเพื่อบำบัดน้ำเสียจากการผลิตแผ่นยางพารา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุลินทรีย์เพื่อสิ่งแวดล้อม. (2559). ไบโอ หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก https://www.bio100percent.com/

เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ. (บรรณาธิการ). (2538). การควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิณี ชัยประเสริฐ และคณะ. (2546). โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสียไร้อากาศแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://kmutt.ac.th/rippc/best73.htm

สุพัตรา เฉลียวพงศ์. (2540). สภาวะ pH ที่เหมาะสมของบ่อไร้อากาศในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำยางข้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุรศักดิ์ บับภาวัน. (2557). การบำบัดน้ำเสียจากการผลิตยางพาราแผ่นด้วยถังกรองไร้อากาศที่มีถ่านเป็นตัวกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย. (2559). ยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://www.rubbernongkhai.com/cuplump/index.php?option=com_content&vew=article&id=2&Itemid=7%20%20

สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2558). สถานการณ์ยางพาราและการปรับตัวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://eris.nesdb.go.th/pdf/.pdf

ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2559). การวิเคราะห์น้ำเสียจากยางก้อนถ้วย. ขอนแก่น: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Burton, F., Tchobanoglous, G., & Stensel, H. D. (Eds.). (2004). Wastewater engineering: Treatment and reuse (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Lens, P. N., Visser, A., Janssen, A. J. H., Hulshoff-Pol, L. W., & Lettinga, G. (1998). Biotechnological treatment of sulfate-rich wastewaters. Critical Reviews in Environmental Science and Technology, 28(1), 41-88.

Puetpaiboon, U. (2003). Development of appropriate and integrated technology for wastewater treatment of concentrated latexindustry. Songkhla: Research and Development Office, Prince of Songkla University.

Rice, E. W., Baird, R. B., Eaton, A. D., & Clesceri, L. S. (2012). Standard methods for the examination of water and wastewater (22nd ed.). Washington, DC: American Public Health Association.

Tchobanoglous, G., & Burton, F.L. (1991). Wastewater engineering: Treatment, disposal, and reuse (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Young, J. C. (1991). Factors affecting the design and performance of upflow anaerobic filters. Water Science and Technology, 24(8), 133–155.

Young, J. C., & McCarty, P. L. (1969). The anaerobic filter for waste treatment. Journal Water Pollution Control Federation, 41, R160-R173.

Young, J. C., & Yang, B. S. (1989). Design considerations for full-scale anaerobic filters. Research Journal of the Water Pollution Control Federation, 61(9-10), 1576-1587.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31