ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายของหญิงวัยกลางคน อาศัยอยู่ที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ฺิเบญจมาศ เผยกลาง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เบญจา มุกตพันธุ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, กิจกรรมทางกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายของหญิงวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือหญิงวัยกลางคน อายุ 40-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 220 คน เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความถี่บริโภคอาหารชนิดต่างๆ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกายโดยใช้แบบสัมภาษณ์กิจกรรมทางกายระดับโลกฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับกิจกรรมทางกาย โดยมีตัวแปรข้อมูลควบคุมกับได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ ความเพียงพอของรายได้กับรายจ่าย และโรคประจำตัว ด้วยสถิติทดสอบ Multiple logistic regression

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 50.3±0.4 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 57.3 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.5 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับไม่เพียงพอ (ระดับต่ำถึงพอใช้) ร้อยละ 70.5 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และร้อยละ 26.4 มีกิจกรรมทางกายในระดับที่ไม่เพียงพอต่อการมีสุขภาพดี จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับที่เพียงพอ (ระดับดีขึ้นไป) มีโอกาสมีระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็น 4.75 เท่าของกลุ่มที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับไม่เพียงพออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI: 2.33 ถึง 9.64) ด้านกิจกรรมทางกายพบว่ากลุ่มที่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับที่เพียงพอมีกิจกรรมทางกายในระดับที่ดีต่อสุขภาพ เป็น 6.25 เท่าของกลุ่มที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับไม่เพียงพออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI: 2.47 ถึง 16.29) สรุปสองในสามของหญิงวัยกลางคนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติที่ดีด้านการบริโภคอาหารและการมีกิจกรรมทางกาย ดังนั้นหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขควรจัดโครงการเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงวัยกลางคนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การบริโภคอาหารและการมีกิจกรรมทางกายที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการป้องกันโรคเรื้อรังได้ในอนาคต

References

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์.

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: โอวิทย์ (ประเทศไทย).

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การสร้างเสริมและการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2561, จาก http://www.hed.go.th/linkhed/file/575

จุฑามาศ เหลาพรม, พรพิมล ชูพานิช, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2558). การบริโภคอาหาร กิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรงและภาวะโภชนาการของสตรีวัยกลางคนในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(1), 317-325.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สุขภาพคนไทย 2559. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนต์พับลิชชิ่ง.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554). รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทยการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิค แอนดีไซน์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจอนามัย สวัสดิการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

Adams, R. J., Piantadosi, C., Ettridge, K., Miller, C., Wilson, C., Tucker, G., et al. (2013). Functional health literacy mediates the relationship between socio-economic status, perceptions and lifestyle behaviors related to cancer risk in an Australian population. Patient Education Counseling, 91(2), 206-212.

Andrus, M. R., & Roth, M. T. (2002). Health literacy: A review. Pharmacotherapy, 22(3), 282–302.

Bull, F. C., Maslin, T. S., & Armstrong, T. (2009). Global physical activity questionnaire (GPAQ): Nine country reliability and validity study. Journal of Physical Activity and Health, 6, 790-804.

Geboers, B., de Winter, A. F., Luten, K. A., Jansen, C. J., & Reijneveld, S. A. (2014). The association of health literacy with physical activity and nutritional behavior in older adults, and its social cognitive mediators. Journal of Health Communication, 19(2), 61-76.

Gibney, S., & Doyle, G. (2016). Self-rated health literacy is associated with exercise frequency among adults aged 50+ in Ireland. European Journal of Public Health, 27(4), 755-761.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-34.

Kobayashi, L. C., Wardle, J., Wolf, M. S., & von Wagner, C. (2013.) Health literacy and moderate to vigorous physical activity during aging. American Journal of Preventive Medicine, 51(4), 463-462.

Suka, M., Odajima, T., Okamoto, M., Sumitani, M., Igarashi, A., Ishikawa, H., et al. (2015). Relationship between health literacy, health information access, health behavior, and health status in Japanese people. Patient Education and Counseling, 98, 660-668.

van der Heide, I., Wang, J., Droomers, M., Spreeuwenberg, P., Rademakers, J., & Uiters, E. (2013). The relationship between health, education, and health literacy: Results from the Dutch adult literacy and life skills survey. Journal of Health Communication, 18(1), 172-84.

World Health Organization [WHO]. (1998). Health promotion glossarry. Retrieved August 22, 2017, from https://www.who.int/healthpromotion/about/HPR%20Glossary%201998.pdf?ua=1

World Health Organization [WHO]. (2011). Non-communicable diseases in the South-East Asia Region. Retrieved October 15, 2017, from http://www.searo.who.int/nepal/mediacentre/2011_non_communicable_ diseases_in_the_south_east_asia_region.pdf

World Health Organization [WHO]. (2014). Global status report on non-communicable diseases 2014. Retrieved August 30, 2017, from https://www.who.int/nmh/ publications/ncd-status-report-2014/en/

Zoellner, J. M., Hedrick, V. E., You, W., Chen, Y., Davy, B. M., Porter, K. J., et al. (2016). Effects of a behavioral and health literacy intervention to reduce sugar-sweetened beverages: A randomized-controlled trial. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 13(38), 1-12.

Zoellner, J., You, W., Connell, C., Smith-Ray, R. L., Allen. K., Tucker, K. L., et al. (2011). Health literacy is associated with healthy eating index scores and sugar-sweetened beverage intake. National Institutes of Health, 111(7), 1012-1020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ