ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • คนึงนิจ ขอดคำ โภชนศษสตร์เพื่อสุขภาพ
  • เบญจา มุกตพันธ์ุ

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, พลังงานที่ได้รับ

บทคัดย่อ

โภชนาการของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 279 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ความถี่ในการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประเมินพลังงานและสารอาหารที่ได้รับโดยใช้แบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม–พฤษภาคม 2561 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆประกอบด้วยลักษณะส่วนบุคคล การบริโภคอาหาร และกิจกรรมทางกาย กับภาวะโภชนาการของกลุ่มตัวอย่างโดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการขาดและเกินใช้ Multinomial Logistic Regression ตัวแปรตามเป็นภาวะโภชนาการขาด (BMI <18.5 kg/ m2) และภาวะโภชนาการเกิน (BMI ≥23 kg/m2) โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการปกติ (BMI 18.5-22.9 kg/m2)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.4 มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ปกติ และ ผอม ร้อยละ 43.4, 14.7, 30.8, 11.1 ตามลำดับ ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคอาหารเฉลี่ย 1,514 กิโลแคลอรีต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 84.0 ของปริมาณที่แนะนำ การกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พบร้อยละ 73.6, 14.7 และ 11.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการปกติ ได้แก่ เพศหญิง ค่า RRR=2.59 (95% CI: 1.43 ถึง 4.70) ช่วงอายุ 60-69 ปี ค่า RRR=2.65 (95% CI: 1.45 ถึง 4.83) พลังงานที่ได้รับจากการกินอาหาร >100% ของปริมาณที่แนะนำ ค่า RRR=2.34 (95% CI: 1.09 ถึง5.07) และจำนวนฟันแท้ในช่องปาก >20 ซี่ ค่า RRR=1.87 (95% CI: 1.01 ถึง 3.46) การศึกษานี้ไม่พบปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการขาด

สรุป ผู้สูงอายุกว่าครึ่งมีปัญหาภาวะโภชนาการเกินโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุเพศหญิง และผู้สูงอายุวัยต้น ผลการศึกษายืนยันว่าการได้รับพลังงานมากมีผลโดยตรงกับภาวะโภชนาการเกิน ดังนั้นการควบคุมภาวะโภชนาการเกินควรเน้นดำเนินการในกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นเพศหญิงโดยเน้นการควบคุมอาหารที่ให้พลังงานสูง

Author Biography

เบญจา มุกตพันธ์ุ

คณะสาธารณสุขศาสตร์ และกลุ่มวิจัยการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (บรรณาธิการ). (2554). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการป้องกัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

พัชราวรรณ ศรีศิลปะนันทน์. (2544). ความสัมพันธ์ของสุขภาพช่องปากต่อภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2(3), 47–52.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. (2560). รายงานตามตัวชี้วัดในระดับกระทรวง ปี 2560. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560, จาก https://hdcservice.moph.go.th

วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. (2552). การพยาบาลผู้สูงอายุ: ความท้าทายกับภาวะประชากรสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2552). รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย การสำรวจสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. กรุงเทพฯ: เดอะกราฟิโกซีสเต็ม.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สรญา แก้วพิทูลย์, & ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. (2555). ภาวะโภชนาการผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). โครงสร้างของประชากร. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.m-society.go.th

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2556). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อนุรักษ์ ศรีใจ. (2551). รายงานการวิจัยการได้รับสารอาหารของผู้สูงอายุในอำเภอปากชม จังหวัดเลย ระหว่างหมู่บ้านชายแดน และไม่ชายแดน. เลย: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากชม.

Chauncey, H., Muench, M. E., Kapur, K. K., & Wayler, A. H. (1984). The effect of the loss of teeth and nutrition. International Dental Journal, 34(2), 98-104.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larson M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 8, 1623-1634.

Millward, D. J., Truby, H., Fox, K. R., Livingstone, M. B/, Macdonald, I. A., & Tothill, P. (2014). Sex differences in the composition of weight gain and loss in overweight and obese adults. British Journal of Nutrition, 111(5), 933-943.

Nancy W., & Barbora, J. K. (2008). Nutrition in aging krause’s Food and Nutrition Therapy (12th ed.). New York: Saunders publisher.

National Center for Statistics and Analysis. (2017). Older Population. Retrieved September 2, 2017, from https://crashstats.nhtsa.dot.gov/Api/Public/Publication/812372

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ