ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ชิตกมล ศรีชมภู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เบญจา มุกตพันธุ์

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนทางไต, ไมโครอัลบูมินนูเรีย, แมคโครอัลบูมินนูเรีย, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วน และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนทางไตที่ศึกษาได้แก่ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย (Microalbuminuria) แมคโครอัลบูมินนูเรีย (Macroalbuminuria) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารักษาที่โรงพยาบาลมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ hosXP ของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาระหว่างมกราคม–ธันวาคม 2560 จำนวนทั้งหมด 1,495 ราย ข้อมูลที่เก็บประกอบด้วยลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางคลินิกและทางชีวเคมี ผลการตรวจแถบสีตรวจปัสสาวะ(Dipstick) เพื่อนำมาหาภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย และผลการตรวจแถบสีตรวจไมโครอัลบูมินนูเรีย (Microalbuminuria Dipstick) เพื่อนำมาหาภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะทางคลินิกและทางชีวเคมีกับภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย และภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรียโดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิงร้อยละ 68.2 มีอายุเฉลี่ย 65.3, ±10.5 ปี ระยะเวลาการเป็นเบาหวานเฉลี่ย 10.3 ±3.4 ปี กลุ่มตัวอย่างมีภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย ร้อยละ 33.3 ภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย ร้อยละ 31.7 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีไมโครอัลบูมินนูเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (n=947) ได้แก่ ระยะการเป็นเบาหวาน ≥10 ปี (adjusted OR 1.97, 95%CI: 1.35 to 2.88, p-value=.001), ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ≥150.0 mg/dl (adjusted OR 1.55, 95%CI: 1.12 to 2.14, p-value=.007) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีแมคโครอัลบูมินนูเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (n=925) ได้แก่ เพศชาย (adjusted OR 1.75, 95%CI: 1.29 to 2.36, p-value=.001), อายุ ≥60 ปี (adjusted OR 1.53, 95%CI: 1.12 to 2.09, p-value=.007), ระยะการเป็นโรคเบาหวาน ≥10 ปี (adjusted OR 1.41, 95%CI: 1.04 to 1.92, p-value=.024), ความดันซีสโตลิก ≥130 mmHg (adjusted OR 1.39, 95%CI: 1.04 to 1.85, p-value=.025), ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ≥ 150mg/dl (adjusted OR 1.75, 95%CI:1.33 to 2.31,p-value=.001) และระดับกรดยูริกในเลือด >7.0 mg% (adjusted OR 2.11, 95%CI: 1.54 to 2.89, p-value=.001) สรุปผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หนึ่งในสามมีภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย และอีกหนึ่งในสามมีภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย ดังนั้นโรงพยาบาลควรมีการคัดกรองภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียและภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรียอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นเพศชายมีระยะการเป็นโรคเบาหวานนานกว่า 10 ปี รวมถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดและระดับกรดยูริกในเลือด เพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.

กรมควบคุมโรค. (2559). กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560, จาก http://www.thaincd.com

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (2560). ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560, จาก http://www.yasoho.in.th

จิราพร เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, & วิชุดา กิจธรธรรม. (2556). การศึกษาปัจจัยทำนายภาวะแทรกซ้อนให้ผู้เป็นเบาหวานในชุมชนภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของคิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(2), 63-80.

ชัญญา ชมเชย. (2560). ไตกับผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.bangkokhospital.com

ธัญญลักษณ์ ทอนราช, & เบญจา มุกตพันธุ์ (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดในบุคลากรกลุ่มคนงานของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 10(2), 93-99.

นงลักษณ์ น้อยนาดี. (2557). ความชุกของภาวะ microalbuminuria ในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลพังงา. ขอนแก่น: สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บัญชา สถิระพจน์. (2554). Proteinuria: A Comprehensive Approach to Diagnosis. เวชสารแพทย์ทหารบก, 64(3), 155-164.

วรรณี นิธิยานันท์. (2560). Eyes on diabetes. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.hfocus.org

วิจิตรา สุวรรณอำไพ, & กาญจนา มีชำนาญ. (2555). ความชุกของภาวะ microalbuminuria ในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย. ขอนแก่น: สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2554). รายงานการบริโภคอาหารของประชาชนไทยการสำรวจสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551- 2552. นนทบุรี: เดอะกราฟโกซิสเต็มส์.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สมศรี เผ่าสวัสดิ์, ศัลยเวทย์ เลขะกุล, ธีระชัย ฉันท์โรจน์ศิริ, ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ, สุนันทา วิจิตรจิตเลิศ, ธีรยุทธ เจียมจริยาภรณ์, และคณะ. (2556). ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน. นนทบุรี: เฮลธ์ เวิร์ค.

สำนักระบาดวิทยา. (2557). กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2560, จาก http://www.boe.moph.go.th

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุปราณี สูงแข็ง, & สมพร แวงแก้ว. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 1-9.

อัจฉรา เจริญพิริยะ, อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, & งามจิตร คงทน (2560). ความชุกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(1), 73-82.

Al-Rubeaan, K., Youssef, A. M., Subhani, S. N., Ahmad, N. A., Al-Sharqawi, A. H., Al-Mutlaq, H. M., et al. (2014). Diabetic nephropathy and its risk factors in a society with a type 2 diabetes epidemic: A Saudi National Diabetes Registry-based study. PloS One, 9(2), e88956.

Bamashmoos, M. A., & Ganem, Y. (2013). Diabetic nephropathy and its risk factors in type 2-diabetic patients in Sana’a City, Yemen. World Journal of Medical Sciences, 9(3), 147–152.

Gall, M. A., Hougaard, P., Borch-Johnsen, K., & Parving, H. H. (1997). Risk factors for development of incipient and overt diabetic nephropathy in patients with non-insulin dependent diabetes mellitus: Prospective, observational study. BMJ, 314(7083), 783-788.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-1634.

Ingsathit, A., Thakkinstian, A., Chaiprasert, A., Sangthawan, P., Gojaseni, P., Kiattisunthorn, K., et al. (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrology, Dialysis, Transplantation, 25(5), 1567-1575.

International Diabetes Federation. (2017). Diabetes atlas. Retrieved May 6, 2019, from https://diabetesatlas.org/ IDF_Diabetes_Atlas_8e_interactive_EN

Low, S. K., Sum, C. F., Yeoh, L. Y., Tavintharan, S., Ng, X. W., Lee, S. B., et al. (2015). Prevalence of chronic kidney disease in adults with type 2 diabetes mellitus. ANNALS Academy of Medicine Singapore, 44(5), 164–171.

Ngarmukos, C., Bunnag, P., Kosachunhanun, N., Krittiyawong, S., Leelawatana, R., Prathipanawatr, T., et al. (2006). Thailand diabetes registry project: prevalence, characteristics and treatment of patients with diabetic nephropathy. Journal of the Medical Association of Thailand, 89(Suppl 1), S37-42.

Rodriguez-Poncelas, A., Garre-Olmo, J., Franch-Nadal, J., Diez-Espino, J., Mundet-Tuduri, X., Barrot-De la Puente, J., et al. (2013). Prevalence of chronic kidney disease in patients with type 2 diabetes in Spain: PERCEDIME2 study. BMC Nephrology, 14(1), 1-8.

Sedaghat, S., Hoorn, E. J., van Rooij, F. J., Hofman, A., Franco, O. H., Witteman, J. C., et al. (2013). Serum uric acid and chronic kidney disease: The role of hypertension. PLoS One, 8(11), 1-8.

Valmadrid, C. T., Klein, R., Moss, S. E., & Klein, B. E. (2000). The risk of cardiovascular disease mortality associated with microalbuminuria and gross proteinuria in persons with older-onset diabetes mellitus. Archives of Internal Medicine, 160, 1093-1100.

Wu, A. Y., Kong, N. C., de Leon, F. A., Pan, C. Y., Tai, T.Y., Yeung, V. T., et al. (2005). An alarmingly high prevalence of diabetic nephropathy in Asian type 2 diabetic patients: the Microalbuminuria prevalence (MAP) study. Diabetologia, 48, 17-26.

Zaman, S. B., Hossain, N., Rahman, A. E., & Islam, S. M. S. (2017). Can glycated hemoglobin act as are liable glycemic indicator in patients with diabetic chronic kidney disease? Evidence from the Northeast of Thailand. Medical Journal of Indonesia, 26(2), 102-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31