ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีคู่นอนหลายคนของวัยรุ่นในสถานศึกษา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กรกวรรษ ดารุนิกร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การมีคู่นอนหลายคน, วัยรุ่นในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีคู่นอนหลายคนของวัยรุ่นในสถานศึกษา จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี (BSS) ในกลุ่มนักเรียน จังหวัดขอนแก่น ปี 2560 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 5 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (3-Stage stratified sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยแบบพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression)

ผลการศึกษาเมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอายุ เพศ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮฮล์พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีคู่นอนหลายคนของวัยรุ่นในสถานศึกษาจังหวัดขอนแก่น คือการใช้สารเสพติดโดยวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีคู่นอนหลายคนเป็น 2.28 เท่า ของวัยรุ่นที่ไม่ใช้สารเสพติด (ORAdj.=2.28, 95% CI=1.03-5.05, P-value=0.042)

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเสพติดซึ่งจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะการมีคู่นอนหลายคน และควรมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมต่อไป

References

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. (2560). ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573. กรุงเทพฯ: เอ็นซีคอนเซ็ปต์.

ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์, สุรีย์พร กฤษเจริญ, กัญจนี พลอินทร์, & ญาวนี จรูญศักดิ์. (2550). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนอาชีวศึกษา. สงขลานครินทร์เวชสาร, 25(6), 511-519.

ตั้ม บุญรอด. (2550). พฤติกรรมทางเพศ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อำเภอเมือง ของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต. (2557). วิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มเยาวชนไทยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ยูนิเซฟ ประเทศไทย.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ. (2558). พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 97-109.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7. (2560). Sex รอบคอบ ตอบ OK. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561, จาก http://odpc7.ddc.moph.go.th/ archives.php?no=815&for=&group=ข่าวสารเพื่อสื่อมวลชน

สำนักระบาดวิทยา. (2559). สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย 2558. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักระบาดวิทยา. (2560). รายงานการเฝ้าระวังโรค 506. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2560, จาก http://www.boe.moph.go.th/ boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=89.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2560). รณรงค์ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เนื่องในวันวาเลนไทน์. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สุพิชญา พลเคน. (2551). การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในวัยรุ่น: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนงค์ ประสาธน์วนกิจ, ประณีต ส่งวัฒนา, & บุญวดี เพชรรัตน์. (2552). ความเชื่อเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และรูปแบบพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นและเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร, 27(5), 369-380.

Economic and Social Commission for Asia and Pacific [ESCAP]. (2014). Statistical Yearbook for Asia and the Pacific 2014. New York: United Nations Publication.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623–1634.

UNAIDS. (2017). Global AIDS Monitoring 2016. Retrieved March 20, 2018, from http://www.aidsdatahub.org/sites/ default/files/highlight-reference/document/UNAIDS_2017_Global_AIDS_Monitoring_2016.pdf

World Health Organization [WHO]. (2017). HIV/AIDS. Retrieved February 1, 2018, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs360/en/.

Zelalem, A., Melkamu, B., & Muluken, A. (2013). Risky sexual practices and associated factors for HIV/AIDS infection among private college students in Bahir Dar City, Northwest Ethiopia. ISRN Public Health, 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ