การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ในกลุ่มพนักงานร้านอาหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พีรพงษ์ ฮาดทักษ์วงค์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

มลพิษทางอากาศในอาคาร, ฝุ่นจากการประกอบอาหาร, อันตรายในห้องครัว, PAHs, PM10

บทคัดย่อ

กิจกรรมการประกอบอาหารในห้องครัวที่มีการเผาไหม้สารอินทรีย์เพื่อให้ความร้อน เช่น แก๊สหุงต้ม เป็นต้น และการใช้น้ำมันในการประกอบปรุงอาหาร ก่อให้เกิดมลพิษในอาคารเกิดขึ้นโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) การสัมผัสสารดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเข้มข้นของ PM10 ในบรรยากาศการทำงานในห้องครัวและอาการแสดงอันเนื่องมาจากการสัมผัส PM10 และสารประกอบ PAHs และเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัส PM10 และสารประกอบ PAHs ของผู้ปฏิบัติงานในห้องครัว เก็บข้อมูลทั่วไป อาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยจากการรับสัมผัสฝุ่นควันจากการประกอบปรุงอาหารในห้องครัว และข้อมูลการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ผลการศึกษาระดับความเข้มข้น PM10 พบว่า ห้องครัวทุกแห่งมีระดับความเข้มข้นของ PM10 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงแรงงานกำหนด ไม่เกิน 5 mg/m3 การรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นจากการประกอบอาหารในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีอาการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.46 รองลงมา คือ มีอาการเล็กน้อย ร้อยละ 27.87 อย่างไรก็ตามพบว่า มีการรายงานอาการระดับรุนแรงในตำแหน่งงานแม่ครัว ร้อยละ 1.64 จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับการมีอาการผิดปกติของพนักงาน พบว่า ปัจจัยการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ปฏิบัติงานและการไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของระดับอาการผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) และผลจากการประเมินความเสี่ยงผ่านเมตริกความเสี่ยงเชิงคุณภาพ พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อสุขภาพตั้งแต่ระดับค่อนข้างสูงขึ้นไปถึงระดับสูงมาก และเมื่อแบ่งระดับความเสี่ยงตามตำแหน่งงาน พบว่า ตำแหน่งแม่ครัวมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 77.77) รองลงมาคือระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 16.67) และระดับสูงมาก (ร้อยละ 5.56) ตำแหน่งผู้ช่วยแม่ครัวทุกคนมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 100) ตำแหน่งพนักงานเสิร์ฟ มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 88.46) รองลงมาคือระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 11.54) และตำแหน่งแคชเชียร์ (Cashier) มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.55) รองลงมาระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 45.45) ดังนั้น แม้ว่าระดับความเข้มข้นของ PM10 จะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดแต่ผู้ปฏิบัติงานมีการรายงานอาการผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นจากการประกอบอาหาร เนื่องจากฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากกระบวนการประกอบอาหารนั้นมักปนเปื้อนด้วยสารประกอบ PAHs และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานในห้องครัว ผู้ปฏิบัติงานควรมีความตระหนักถึงอันตรายจากการรับ PM10 และสารประกอบ PAHs โดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลระหว่างปฏิบัติงานและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความเหมาะสม เช่น ติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ เป็นต้น

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2547). พีเอเอช (โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์.

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). สถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี 2558 รอบ 6 เดือน. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560, จาก http://infofile.pcd.go.th/mgt/ThailandPollut2558_Form.pdf?CFID=3783417&CFTOKEN=77823116

กรมธุรกิจการค้า. (2560). ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร. ค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561, จาก http://www.dbd.go.th/download/ document_file/Statisic/2560/T26/T26_201703.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560, จาก http://enhealthplan.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=24

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4428 (พ.ศ.2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเก็บและวิเคราะห์อนุภาคแขวนลอยในอากาศในสภาวะแวดล้อมการทำงาน. ราชกิจจานุเบกษา, 129(129ง), 8

กระทรวงแรงงาน. (2560). ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย. ราชกิจจานุเบกษา, 134(198ง). 34.

ปณิดาภา แก้วสวน. (2557). ความสำเร็จของนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1),47-57

รัชนี นันทนุช, & สุนิสา ชายเกลี้ยง.(2556) ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการได้รับอันตรายจากการสัมผัสน้ำมันเชื้อเพลิงของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตเทศบาลนครขอนแก่น: การศึกษานำรอง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(4), 506-515

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อารุญ เกตุสาคร, & นรุตตม์ สหนาวิน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสารโพลิไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนและPM10 กับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม:กรณีศึกษาในสถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในจังหวัดปทุมธานี [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(3):1-8.

Frederic, L., & Michael, B. (2010). A short primer on benzene, toluene, ethylbenzene and xylenes (BTEX) in the environment and in hydraulic fracturing fluids. Retrieved September 10, 2018, from https://ehp.qld.gov.au/management/coal-seam-gas/pdf/btex-report.pdf

Kuo, P. Y., Ke, R. Y., Yen, C C., Jia, Y G., Yen P C., Hui, C S., et al. (2015). Indoor air pollution from gas cooking in five Taiwanese families [Electronic version]. Building and Environment, 93(2), 258-266.

National institute for Occupational Safety and Health [NIOSH]. (1998). Particulates not otherwise regulated, respirable 0600. Retrieved September 8, 2018, from https://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/ 0600.pdf

United States Environmental Protection Agency [US EPA]. (2018). Health and environmental effects of particulate matter (PM). Retrieved September 5, 2018, from https://www.epa.gov/pm-pollution/health-and-environmental-effects-particulate-matter-pm

World Health Organization [WHO]. (2018). Risk factors for chronic respiratory diseases. Retrieved September 8, 2018, from http://www.who.int/gard/publications/Risk%20factors.pdf

Yu, H., Steven, S H., Kin, F H., Shun, C L., Jian, Z Y., & Peter, K.K. (2011). Characteristics and health impacts of VOCs and carbonyls associated with residential cooking activities in Hong Kong [Electronic version]. Journal of Hazardous Materials 186(1) 344–351

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01