ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองแบบผสมผสานต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ขนัตยา - พวงมาลี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพิมล ชูพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โปรแกรม, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองแบบผสมผสานต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (hemoglobin A1c: HbA1c) ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในคลินิกเบาหวาน  โรงพยาบาลหนองแสง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองแบบผสมผสานเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลรักษาตามปกติของคลินิกเบาหวานในโรงพยาบาล  เก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะทั่วไป ความรู้โรคเบาหวาน และพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ โดยใช้แบบสอบถาม เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย HbA1c ระหว่างกลุ่ม ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ Student’s  t-test 

ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองแบบผสมผสาน กลุ่มทดลองมีระดับความรู้ และมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และค่าเฉลี่ย HbA1c ภายหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย HbA1c ของกลุ่มทดลอง  พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้น โปรแกรมการดูแลตนเองแบบผสมผสานช่วยส่งเสริมให้ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดีขึ้นได้ ข้อเสนอแนะในการศึกษานี้ คือควรมีการจัดโปรแกรมอย่างต่อเนื่องต่อไปและติดตามผลในระยะยาว

References

กนิษฐ์ โง้วศิริ. (2559). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2561, จาก http://eresearch.ssru.ac.th/handle/123456789/904

กองแพทย์ทางเลือก. (2560). สถานการณ์การแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560, จาก http://www.thaicam.go.th/ index.php?option=com_content&view=article&id=115&Itemid=116

เกศกนก นวลเศษ, ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์, & นพวรรณ เปียซื่อ. (2558). การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าผสมผสานการใช้ยาต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และอาการชาเท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 156-173.

คลีพัตรา ไชยศรี, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, & ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. (2556). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 31(3), 48-55.

คะนึงนุช แจ้งพรมมา, & พัทธนันท์ คงทอง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 10(19), 1-13.

จุรีพร คงประเสริฐ, & ธิดารัตน์ อภิญญา. (2558). คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดวงเดือน หันทยุง, วรพล แวงนอก, & วรากร เกรียงไกรศักดา. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองไผ่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(1), 36-51.

นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, & อำภาพร นามวงศ์พรหม. (2012). ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้กิจกรรมดูแลตนเองและค่าฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 98-105.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, & นิรมล เมืองโสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 102-109.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2560). Health Data Center version 4.0. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560, จาก http://203.157.102.141/hdc/main/index_pk.php.

สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 191-204.

สุภาพ พุทธปัญโญ, นิจฉรา ทูลธรรม, & นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. (2017). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการลดน้ำหนักของบุคลากร ที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(4), 42-59.

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (2553). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of study of learning. Retrieved September 20, 2012, from http://www.proquest.umi.com/

Delamater, A. M. (2006). Clinical Use of Hemoglobin A1c to Improve Diabetes Management. Clinical diabetes, 24(1), 6-8.

International diabetes Federation. (2017). IDF DIABETES atlas eighth edition 2017. Retrieved November 22, 2017, from www.diabetesatlas.org

World Health Organization. (2014). Diabetes. Retrieved September 22, 2017, from http://www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs312/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01