ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดินนับก้าวต่อสมรรถภาพหัวใจและหลอดเลือดของวัยผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน

ผู้แต่ง

  • ศุภวรรณ ชาติศรินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
  • รชานนท์ ง่วนใจรัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

คำสำคัญ:

เดินนับก้าว, กำกับตนเอง, สมรรถภาพหัวใจและหลอดเลือด, น้ำหนักเกิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi–experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดินนับก้าวต่อสมรรถภาพหัวใจและหลอดเลือดของวัยผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเพื่อให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง  กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครอายุ 25-45 ปี ดัชนีมวลกาย 23-29.9 กก./ม² จำนวน 68 คน คัดเลือกด้วยวิธีการจับคู่ตัวแปรเพศ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเดินนับก้าว 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) กระบวนการสังเกตตนเองเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การให้ความรู้และฝึกตั้งเป้าหมายในการเดิน 2) กระบวนการตัดสินผลที่ตนปฏิบัติได้ กิจกรรมเดินออกกำลังกาย 10,000 ก้าว และ 3) การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้และการปฏิบัติตัวในการออกกำลังกาย บันทึกทดสอบการเดิน 6 นาที ชั่งน้ำหนักและวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านต่างๆ ด้วยสถิติ Paired t–test และ Independence t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ การปฏิบัติตัวในการออกกำลังกาย ดัชนีมวลกาย อัตราการเต้นหัวใจขณะพักและผลทดสอบระยะทางในการเดิน 6 นาที ดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนทดลอง และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดินนับก้าวที่จัดขึ้น มีประสิทธิผลทำให้มีพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพหัวใจหลอดเลือดดีขึ้นได้ สามารถนำไปใช้สร้างเสริมสุขภาพแก่กลุ่มอื่นได้ต่อไป

References

กาญจนา เพ็งเหล็ง. (2556). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองและการสนับสนุนทางสังคมในพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์, & กุลธิดา เชิงฉลาด. (2544). ปทานุกรมศัพท์ กีฬา พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา พันธ์สอาด. (2555). โรคอ้วนในวัยทำงาน. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 4(1), 165-174.

วรรณา งามประเสริฐ. (2553). ผลของโปรแกรมกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 22(1-3), 94-106.

วัชราภรณ์ ภูมิภูเขียว, & รุจิรา ดวงสงค์. (2552). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเองร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการพัฒนาพฤติกรรมการลดน้ำหนักของข้าราชการอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 77-87.

วัลลภ พรเรืองวงศ์. (2552). เครื่องนับก้าว(pedometer) ช่วยลดความดัน(เลือด)+ลดอ้วน. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2558, จาก http://www.gotoknoe.org/posts/148084

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ใจกล้า, & วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศศิภา จินาจิ้น. (2550). ผลของการเดินที่มีต่อสุขสมรรถนะของกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อติกานต์ เกนี่. (2557). ผลของการฝึกเดินสมาธิต่อการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดและการลดความเครียดในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 15(3), 75-90

American Thoracic Society. (2002). ATS Statement: guidelines for the Six-Minute Walk Test. American Journal of Respiratory Critical Care Medical, 166(1), 111-117

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Kelley, G. A., Kelley, K. S., & Vu Tran, Z. (2005). Aerobic exercise, lipids and lipoproteins in overweight and obese adults: a meta-analysis of randomized controlled trials. International Journal of Obesity, 29(8), 881–893.

Schunk, D., & Zimmerman, B. (1997). Social origin of self-regulatory competence. Educational Psychologist, 32, 195–208.

Tudor-Locke, C., Craig, C. L., Brown, W. J., Clemes, S. A., De Cocker, K., Giles-Corti, B., et al. (2011). How many steps/day are enough? For adults. The International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 8, 79.

Weisman, I. M., & Zeballos, R. J. (2002). Clinical exercise testing. Switzerland: Karger Medical and Scientific Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01