@article{ยศจำรัส_นิพพานนทน์_2018, title={ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น}, volume={6}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/117970}, abstractNote={<p>การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเป้าหมายสำคัญในการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนักในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต ซึ่งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมแพอำเภอชุมแพจังหวัดขอนแก่น เลือกตัวอย่างจำนวน 80 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 40 คน ดำเนินการระหว่างเดือน มิถุนายน 2555–มีนาคม 2556 กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมแทรกแซง 6 ครั้งรวม 12 สัปดาห์ ได้แก่ การใช้กระบวนการกลุ่มการตั้งเป้าหมายในการควบคุมน้ำตาลในเลือด การเสนอบุคคลตัวอย่าง การฝึกปฏิบัติการดูแลสุขอนามัยและเท้า การออกกำลังกายโดยวิธีหัวเราะบำบัด ได้รับคู่มือการดูแลตนเองฯ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการให้บริการในโรงพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานได้แก่ Paired Sample t-test,Independent t-test และ 95% CI กำหนดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้และเจตคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเอง การตั้งเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองด้าน การรับประทานอาหาร, การออกกำลังกาย, การจัดการความเครียด, การดูแลสุขอนามัยและเท้า, การรับประทานยารักษาโรคเบาหวานและการพบแพทย์ตามนัด สูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) 95% CI=23.46–32.49 มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด(FBS) อยู่ระหว่าง 141-180 mg% คิดเป็นร้อยละ 42.50 (เฉลี่ย 145.55 mg%, SD.=32.37) มีค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) ลดลงได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดคือไม่เกินร้อยละ 6.5 จำนวน 5 คน</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจว่าสามารถที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ยศจำรัส ทรงเดช and นิพพานนทน์ ปาริชา}, year={2018}, month={เม.ย.} }