@article{ปาประโคน_จันทรโพธิ์ศรี_2018, title={ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์}, volume={6}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/117974}, abstractNote={<p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างเดือนตุลาคม 2555- มีนาคม 2556สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 258 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการหาความเที่ยง ด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ของแอลฟาครอนบาคซ์มีค่าแรงสนับสนุนทางสังคมเท่ากับ 0.93บทบาทการส่งเสริมสุขภาพเท่ากับ 0.86วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา แสดงจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ำต่ำสุดค่าสูงสุดสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson ’s Product Moment Correlation Coefficient )และ 95%CI </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (Mean = 2.44,S.D.=0.40) บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.40, S.D.=0.37)พบว่าแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.62, p-value<0.001)</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือชุมชน หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรให้การยกย่อง ชมเชย หรือการให้ข้อมูลย้อนกลับ แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้สำเร็จและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านควรมีการพัฒนาบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ปาประโคน เตือนใจ and จันทรโพธิ์ศรี วิทัศน์}, year={2018}, month={เม.ย.} }