@article{ศรีกุตา_อินทร์ม่วง_2018, title={การประเมินผลกระทบทางสุขภาพของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณ สถานที่ฝังกลบมูลฝอย เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น}, volume={4}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118836}, abstractNote={<p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเชิงลบและเชิงบวก<br>ในมิติทางกาย จิตใจและสังคมในการดำเนินงานฝังกลบมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยมีขนาดตัวอย่าง<br>217 ครัวเรือนจากประชากร 2,616 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นตัวแทนของครัวเรือนที่อยู่รอบบริเวณสถานที่ฝังกลบ<br>มูลฝอยเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 7 หมู่บ้าน เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วยแบบรวบรวมข้อมูลการกำจัดมูลฝอย แบบ<br>สังเกตผลกระทบต่อสุขภาพชุมชนและแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ<br>และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ และตัวแทนหน่วยงาน<br>ราชการที่เกี่ยวข้องกับการป้ องกันผลกระทบทางสุขภาพของชุมชนจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอย<br>ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า มีสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมเหมือนกับเมื่อช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (ร้อยละ<br>51.6, 71.4 และ 70.9 ตามลำดับ) โดยผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายเชิงลบ ได้แก่ กลิ่นเหม็นจากมูลฝอย (ร้อยละ 64.5) ฝุ่น<br>ละออง/ควันไฟ (ร้อยละ 52.5) และความเสี่ยงต่อการเจ็บป่ วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร (ร้อยละ 52.5) ส่วนผลกระทบต่อ<br>สุขภาพร่างกายเชิงบวก คือ การได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจากการออกหน่วยตรวจสุขภาพของเทศบาลนครขอนแก่น (ร้อย<br>ละ 69.1) ผลกระทบต่อสุขภาพจิตเชิงลบ ได้แก่ ความรู้สึกกังวลใจต่อสุขภาพของตนเองและครอบครัว (ร้อยละ 84.8) ความ<br>เดือดร้อนที่ได้รับกลิ่นเหม็นรบกวน (ร้อยละ 73.3) และความเดือดร้อนรำคาญจากแมลงวัน (ร้อยละ 54.4) ส่วนผลกระทบต่อ<br>สุขภาพจิตเชิงบวก คือ พอใจต่อการที่เทศบาลนครขอนแก่นออกหน่วยตรวจสุขภาพ (ร้อยละ 69.1) ผลกระทบต่อสุขภาพทาง<br>สังคมเชิงลบ ได้แก่ ความเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชุมชนกับเทศบาลนครขอนแก่น (ร้อยละ 71.4) การเป็นที่รังเกียจจากชุมชน<br>อื่น (ร้อยละ 43.3) และรายได้ลดลงจากผลผลิตทางการเกษตร/เลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบจากมลพิษที่เกิดขึ้น (ร้อยละ 35.5)<br>รวมทั้งการเกิดความขัดแย้งในชุมชนระหว่างผู้เสียประโยชน์และผู้ได้รับประโยชน์จากมูลฝอย (ร้อยละ 24.4) ส่วนผลกระทบต่อ<br>สุขภาพทางสังคมเชิงบวก คือ เทศบาลนครขอนแก่นและเทศบาลอื่นมีพื้นที่สำหรับใช้กำจัดมูลฝอย ชุมชนกล้าปกป้ องสิทธิของ<br>ตนเองและชุมชนต่อผลกระทบจากมลพิษมากขึ้น (ร้อยละ 78.8) และทำให้สร้างอาชีพมีรายได้เลี้ยงครอบครัว (ร้อยละ 30.0)<br>ผลกระทบต่อสุขภาพเชิงลบล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยว<br>โยงต่อความเป็ นอยู่และสุขภาพชุมชน ดังนั้นจึงจำเป็ นต้องมีการวางแผนด้านสาธารณสุขที่เหมาะสม มาตรการแก้ไข/ป้ องกัน<br>มาตรการลดผลกระทบ ตลอดจนมาตรการในการเฝ้ าระวังและส่งเสริมสุขภาพ เพื่อควบคุมและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ศรีกุตา พัชรี and อินทร์ม่วง อุไรวรรณ}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={9–20} }