@article{ศรีหาวงษ์_เศรษฐีธรรม_2018, title={สถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในตลาดนัดอําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น}, volume={10}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/119501}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) นี้เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในตลาดนัด อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยทําการศึกษาแผงลอยทั้งหมดจํานวน 50 แผง มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและกําหนดคุณสมบัติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม แบบสังเกต และการใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) เก็บตัวอย่างอาหารจํานวน 50 ตัวอย่าง ภาชนะจํานวน50ตัวอย่าง มือผู้สัมผัสอาหารจํานวน50ตัวอย่าง น้ําแข็งพร้อมบริโภคจํานวน 20 ตัวอย่าง ตรวจติดตาม 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือนและผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาระยะเวลาการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2559 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 ผลการวิจัยพบว่าแผงลอยจําหน่ายอาหารในตลาดนัด อําเภอภูเวียงทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 54 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์แต่ละเรื่องที่ไม่ผ่านมาตรฐาน พบว่า แผงลอยจําห่ายอาหารไม่ผ่านด้าน ภาชนะอุปกร์ สิ่งแวดล้อมและหมวดอาหารตามลําดับจากมากมาหาน้อย ระดับความรู้ในภาพรวมของผู้จําหน่ายอาหารอยู่ ในระดับต่ํา3ลําดับแรกคือ อาหารสด ประเภทผักผลไม้ เนื้อสัตว์ สามารถเก็บรวมอยู่ในที่เดียวกันได้,การหยิบจับช้อน ส้อม ตะเกียบสําหรับบริการลูกค้าสามารถจับต้องบริเวณใดก็ได้ และที่ล่างภาชนะวางสูงจากพื้นเท่าใดก็ได่เพื่อความสะดวกของผู้ล่างตามลําดับจากมากมาหาน้อย ระดับการปฏิบัติในภาพรวมของผู้สัมผัสอาหารพบว่าผู้จําหน่ายอาหารไม่ปฏิบัติ 3ลําดับแรกคือ ล้างมือด้วยน้ําและสบู่ ก้อนและหลังการสัมผัสอาหาร,สวมผ้ากันเปื้อนเน็ทคลุมผม ผ้าปิดปากและจมูกและชิมอาหารระหว่างการปรุง โดยใช้ช้อนชิมเฉพาะตามลําดับจากมากมาหาน้อย ส่วนผลการตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร จํานวน 50 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจํานวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 18 ของตัวอย่างที่ตรวจ ผลการตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ จํานวน 50ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจํานวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 18 ของตัวอย่างที่ตรวจ ผลการตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในมือผู้สัมผัสอาหาร จํานวน 50 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจํานวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 18 ของตัวอย่างที่ตรวจ ผลการตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ําแข็งพร้อมบริโภคจํานวน 20 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนจํานวน5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ของตัวอย่างที่ตรวจ แสดงให้เห็นว่าแผงลอยจําหน่ายอาหารในตลาดนัดอําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ โดยพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียมากที่สุดในน้ําแข็งพร้อมบริโภค สรุปได้ nว่า สถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในอําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นยังไม่ปลอดภัยหรือไม่มีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เป็นความเสี่ยงที่จะทําให้อาหารเกิดการปนเปื้อนแล่ะอโรคต่อผู้บริโภคได้ ควรมีการศึกษากลวิธีเพื่อปรับปรุงแผงลอยจําหน่ายอาหารและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในตลาดนัด อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นเพื่อสุขลักษณะของแผงลอยที่ดียิ่งขึ้นและปลอดภัยต่อผู้บริโภค</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ศรีหาวงษ์ ณัฐธยาน์ and เศรษฐีธรรม ดาริวรรณ}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={54–64} }