@article{สัญพึ่ง_เลาห์ประเสริฐ_2018, title={ประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารเมทโธมิลที่ปนเปื้อนในถั่วฝักยาว โดยการแช่น้ําที่มีสารสกัดจากรางจืดและย่านาง}, volume={10}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/119535}, abstractNote={<p>ถั่วฝักยาวเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สําคัญของประเทศ เกษตรกรจึงอาศัยสารกําจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต ทําให้มีการปนเปื้อนและตกค้างทั้งในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม โดยถั่วฝักยาวเป็นผักที่พบว่ามีปัญหาในเรื่องของการตกค้างสารกําจัดศัตรูพืชเกินมาตรฐาน MRL และเมทโธมิลเป็นสารกําจัดศัตรูพืชที่พบว่ายังมีปัญหาในเรื่องของการขึ้นทะเบียนทางการค้า การลดการเกิดพิษจากสารกําจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในผัก คือ ผู้บริโภคต้องการทําความสะอาดผักก่อนบริโภค ด้วยวิธีการล้างการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารเมทโธมิลที่ปนเปื้อนในถั่วฝักยาวด้วยการแช่ด้วยน้ําที่มีสารสกัดจากรางจืดและย่านาง ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการสกัดสารสกัดทั้งในรูปแบบของรางจืดและรูปแบบของย่านาง (สดและแห่ง) และวิธีสกัดสารสกัด (ตัวทําละลายน้ําและเอทิลแอลกอฮอล์ 70%) ขั้นตอนการแช่ล้างด้วยสารสกัดทั้ง 8 ชนิดในอัตราส่วนผักต่อสารสกัดเป็น 1 อ 15 (น้ําหนักต่อปริมาตร)แช่นานเป็นเวลา 5 นาที ขั้นตอนการตรวจสอบประสิทธิภาพของสารสกัดล้างผักโดยการสกัดถั่วฝักยาวเพื่อนําไปทําการวิเคราะห์หาปริมาณสารเมทโธมิลที่ตกค้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ เครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Independent t-test ผลการทดลอง พบว่า การสกัดสารสกัดจากใบย่านางแห่งที่ทําการสกัดด้วยน้ํามีความเข้มข้นของสารสกัดและเปอร์เซ็นต์ของสารสกัดสูงที่สุดเท่ากับ0.1539 g/ml และ 26.948% ตามลําดับ รองลงมาคือ การสกัดสารสกัดจากใบย่านางสดที่ทําการสกัดด้วยน้ํามีความเข้มข้นของสารสกัดและเปอร์เซ็นต์ของสารสกัดเท่ากับ 0.0815 g/ml และ 23.227% ตามลําดับ ปริมาณการลดลงของสารเมทโธมิลด้วยสารสกัดจากรางจืดและย่านางพบว่า สารสกัดย่านางสดที่สกัดด้วยน้ํามีปริมาณการลดลงของสารเมทโธมิลสูงที่สุด ตามด้วยสารสกัดย่านางแห่งที่สกัดด้วยน้ํา และน้ําประปา มีค่า 83.03% 55.00% และ 46.60% ตามลําดับและเมื่อทําการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ย่านางสดที่สกัดด้วยน้ําและย่านางแห่งที่สกัดด้วยน้ํา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) ย่านางสดที่สกัดด้วยน้ําและน้ําประปา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) และย่านางแห่งที่สกัดด้วยน้ําและน้ําประปา ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติโดยสรุปผลการวิจัยในครั้งนี้สารสกัดย่านางสดที่สกัดด้วยน้ําสามารถลดปริมาณที่ตกค้างของสารเมทโธมิลในถั่วฝักยาวได้สูงที่สุดเท่ากับ 83.03%</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={สัญพึ่ง สัณหจุฑา and เลาห์ประเสริฐ ประชุมพร}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={38–46} }