@article{ภู่สุวรรณ_สีประโค_2017, title={การเกิดและการกระจายตัวโรคไข้เลือดออกอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กรณีศึกษา 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2552-2556)}, volume={8}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121049}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาสถานการณ์การเกิดโรค<br>ไข้เลือดออกในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างปี พ.ศ.2552 - 2556 ที่ได้รับการรักษาใน<br>โรงพยาบาลโดยแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย จำนวน 1,545 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า อัตรา<br>ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อยู่ระหว่าง 114.95-621.81 ต่อแสนประชากร โดยสูงสุดในปี พ.ศ. 2554 และ<br>ต่ำสุดในปี พ.ศ. 2556 มีแนวโน้มการระบาดแบบปีเว้นสองปี อัตราส่วนเพศชายต่อหญิงเท่ากับ 1:0.87 มี<br>แนวโน้มอายุเฉลี่ยสูงขึ้น ค่ามัธยฐานอายุอยู่ระหว่าง 18-21 ปี ค่าฐานนิยมอยู่ระหว่าง 11-14 ปี แนวโน้มตาม<br>อาชีพพบในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา รองลงมาเป็นกลุ่มรับจ้าง/กรรมกร อัตราส่วนการเกิดDHFต่อDF เท่ากับ<br>1:0.59-1.03 วิเคราะห์การระบาดตามช่วงเวลา พบการระบาด 2 ช่วง คือ กุมภาพันธ์ถึงเมษายน และ<br>สิงหาคมถึงพฤศจิกายน การวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นไข้เลือดออกเด็งกี่ (DF)<br>ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ควรมีการป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงเพศชาย โดยพื้นที่<br>เป้าหมายเป็นในสถานศึกษา และควรมีการคัดกรองการเกิดโรคในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดตั้งแต่ระยะ<br>ไข้เลือดออกเด็งกี่ โดยใช้ความร่วมมือของชุมชนในการดำเนินการเป็นหลัก</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ภู่สุวรรณ นิติกร and สีประโค ปาริตรา}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={14–21} }