@article{วงษ์อนันท์_สมณะ_เลาห์ประเสริฐ_2017, title={ประสิทธิผลของสารสกัดจากดาวเรืองน้อยในการกำจัดเหา}, volume={7}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121147}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของดาวเรืองน้อย (Tagetes patula Linn.)ในการ<br>กำจัดเหา (Pediculushumanuscapitis) ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยวิธี Contact Method ทำการทดลอง 4 ซ้ำ<br>(n=100) โดยใช้สารสกัดจากส่วนต่างๆ ของดาวเรืองน้อย ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ และดอก ที่สกัดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์<br>95 เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธี Marceration หมักไว้ 7 วัน นำสารสกัดมาหาปริมาณสาร α–terthienyl ที่ได้จากดาวเรือง<br>น้อยชนิดพืชสดส่วนราก ลำต้น ใบ และดอก พบที่รากมากที่สุดเท่ากับ 7.665 มิลลิกรัมต่อกรัม รองลงมาคือดอก ลำต้น<br>และใบ มีค่าเท่ากับ 3.278 มิลลิกรัมต่อกรัม, 0.904 มิลลิกรัมต่อกรัม, 0.196 มิลลิกรัมต่อกรัมตามลำดับ สารสกัดจาก<br>ดาวเรืองน้อยทั้ง 4 ส่วนทำให้เหาตายมากที่สุด คือ สารสกัดจากส่วนรากโดยทำให้เหาตายร้อยละ 60.4 ภายใน<br>24 ชั่วโมง รองลงมาได้แก่ สารสกัดจากส่วนดอก ส่วนลำต้น และส่วนใบ โดยทำให้เหาตายร้อยละ 44.4, 29.6 และ<br>27.0 ภายใน 24 ชั่วโมงตามลำดับ ค่ามัธยฐานของความเข้มข้นที่เป็นพิษ (LC50) ของสารสกัดจากส่วนราก ดอก ลำ<br>ต้น และใบ มีค่าเท่ากับ 0.06247, 0.10506, 0.15811 และ 0.19008 ppm จึงนำสารสกัดส่วนที่ทำให้เหาตายมาก<br>ที่สุด คือ สารสกัดจากส่วนรากไปทดลองกำจัดเหาในชุมชนและในห้องปฏิบัติการ พบว่า เหาในชุมชนตาย 85 ตัว คิด<br>เป็นร้อยละ 85.0 ส่วนเหาในห้องปฏิบัติการตาย 81 ตัว คิดเป็นร้อยละ 81.0 ตามลำดับ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง สาร<br>สกัดจากรากดาวเรืองมีผลทำให้เหาตัวเต็มวัยตายแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ<br>จากการทดลองทำให้ทราบว่าสารสกัดจากดาวเรืองน้อย มีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดีที่สุดคือ สาร<br>สกัดจากส่วนราก จึงควรนำส่วนรากไปใช้ในการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนที่มีเหาแทนการใช้สารเคมี</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={วงษ์อนันท์ บุญเรือง and สมณะ เรือน and เลาห์ประเสริฐ ประชุมพร}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={28–33} }