@article{บัวพุ่ม_มณีรอด_รอดพรม_2017, title={การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้าน แบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง}, volume={7}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121162}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา<br>หลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับดูแล<br>ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือการประเมินความสามารถและความ<br>ต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม<br>อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย<br>โรคเรื้อรัง<br>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่<br>ป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยรวมในระดับมาก ( X =2.68) และมีระดับความต้องการฝึกอบรมการเยี่ยมบ้านแบบ<br>เสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยรวมในระดับมาก ( X =3.33) ประสิทธิผลของ<br>หลักสูตรภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมผู้ผ่านการอบรมมีระดับความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลัง<br>อำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br>(t=28.63, p-value<.001)และมีระดับความสามารถในการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแล<br>ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยรวมในระดับมาก ( X =3.49) หลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข<br>ประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเป็นหลักสูตรที่<br>เน้นผู้เข้ารับการอบรมเป็นสำคัญ เนื้อหาสาระของหลักสูตร ประกอบไปด้วย3 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) การ<br>เจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุกับการสูญเสียพลังอำนาจ 2) กระบวนการและขั้นตอนการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลัง<br>อำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง3) การปฏิบัติการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการ<br>ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มี<br>ส่วนร่วม ร่วมกับการใช้สถานการณ์จริงและกรณีศึกษาเพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของ<br>หลักสูตร 2 ด้าน คือ 1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิบัติการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแล<br>ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 2) ความสามารถในการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแล<br>ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง<br>ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยติดตามประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่<br>ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวที่ได้รับการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจ<br>เปรียบเทียบกับครอบครัวที่ได้รับการเยี่ยมแบบปกติ</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={บัวพุ่ม พรเจริญ and มณีรอด สมทรง and รอดพรม เพ็ญศรี}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={60–67} }