@article{ผลอ้อ_งามสะอาด_ศรียา_2018, title={การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง ปี 2556–2559}, volume={11}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/145080}, abstractNote={<p>ปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่สมองเด็กพัฒนาได้มากที่สุดหากได้รับสารอาหาร การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดูที่ดีซึ่งควรเริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับการได้รับอาหารที่ดี การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยอย่างมีส่วนร่วม ในพื้นที่ต้าบลบัวใหญ่ อ้าเภอน้้าพอง จังหวัดขอนแก่น จากเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ภาคีที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข 40 คน บุคลากรจากส่วนท้องถิ่น 3 คน บุคลากรสาธารณสุข 8 คน ก้านัน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 17 คน ตัวแทน ผู้ปกครอง 20 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 6 คน คณะกรรมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในต้าบล 15 คน ผู้อ้านวยการ โรงเรียน 5 คน และครูอนามัย 5 คน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย 449 คู่วิธีด้าเนินการศึกษา: เริ่มจากศึกษาสถานการณ์เพื่อน้าเข้ากระบวน การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวทางของ Kemmis & McTaggart 4 ขั้นตอน คือ PAOR ได้แก่ (1) PLAN การก้าหนดแผนเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเด็กโดยภาคีที่เกี่ยวข้อง (2) ACT การปฏิบัติตาม แผนที่ได้ (3) OBSERVE การสังเกตกิจกรรมปฏิบัติที่ได้ด้าเนินการ แล้วน้าข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (4) REFLECT การสะท้อนผล โดยได้ประชุมภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับทราบผลและปรับแผนการปฏิบัติในวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแผนที่ปรับขึ้นใหม่ ผลการพัฒนา ได้แก่ 1) ได้วิสัยทัศน์เครือข่าย 2) เกิดแผนพัฒนาสุขภาพช่องปาก เด็กปฐมวัยอย่างบูรณาการ 3) เกิดคณะท้างาน 4) เกิดรูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยที่บูรณาการร่วมกัน โดยเริ่มจากการปรับระบบการให้บริการในหญิงตั้งครรภ์และในคลินิกเด็กดี การออกเยี่ยมบ้านร่วมกับ อสม. ในเด็กกลุ่มเสี่ยงสูงร่วมกับกระตุ้นผู้ปกครองเล่านิทาน บันทึกพฤติกรรมและสภาวะช่องปากเด็ก จัดอบรมเพิ่มทักษะครู ปรับแบบบันทึกกิจกรรมพัฒนาศูนย์เด็กตามการสะท้อนข้อมูลของคณะกรรมการ จัดห้องสมุดนิทาน ติดป้ายให้ข้อมูลกระตุ้นกิจกรรมดูแลเด็กโดยบูรณาการทั้งการกิน กอด เล่น แปรงฟัน เล่านิทาน มีรถรับส่งเด็ก เพิ่มการให้บริการทันตกรรมป้องกันในศูนย์เด็ก จัดประกวดการแปรงฟัน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแปรงฟันอย่างไรให้ลูกฉลาดแก่ผู้ปกครองและ อสม. ด้านผลลัพธ์ พบว่า เด็ก 3 ปี ที่ไม่มีฟันผุเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 55.61 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 61.61 ในปี 2556, ร้อยละ 79.88 ในปี 2557, ร้อยละ 70.09 ในปี 2558 และร้อยละ 71.81 ในปี 2559 ฟันผุเฉลี่ยจาก 4.03 ซี่ต่อคน เป็น 3.85, 3.41, 3.16 และ 2.8 ซี่ต่อคนตามล้าดับ นอกจากนี้ ศูนย์เด็กได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์คุณภาพ องค์การบริหารส่วนต้าบลสนับสนุนการพัฒนาต่อเนื่อง เกิดนโยบายสาธารณะ “ต้าบลงานบุญปลอดน้้าอัดลม” และขยายผลการท้าแผนพัฒนาสุขภาพช่องปากไปทุกกลุ่มวัย</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ผลอ้อ ณัฐกฤตา and งามสะอาด อรวรรณ and ศรียา ศุจินธร}, year={2018}, month={ก.ย.}, pages={40–49} }