@article{พนากอบกิจ_สกุลคู_2019, title={ข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, volume={12}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/145309}, abstractNote={<p>การทำงานอย่างปลอดภัยในโรงงานคือการช่วยกันสร้างความปลอดภัยในการทำงานโดยวิธีการป้องกันมิให้เกิดขึ้น อาจโดยการควบคุมและการจัดสภาพการทำงานให้ปลอดภัย รวมทั้งการมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เพียงพอแก่พนักงานในสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย</p> <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักศึกษาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยชั้นปีที่ 4 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 29 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการจัดอบรมให้ความรู้ให้แก่พนักงานร้อยละ 51.7 นักศึกษา มีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลร้อยละ 44.8 นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการด้วยการให้รางวัลหรือเงินโบนัส ร้อยละ 41.4 นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการจัดกิจกรรมหรือโครงการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมร้อยละ 27.6 นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการให้คำชมเชยแก่พนักงานที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาทำงานร้อยละ 10.3 และนักศึกษา มีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) เป็นแบบอย่างที่ดีให้พนักงานได้เห็นและปฏิบัติตาม ร้อยละ 6.9 สรุปได้ว่าข้อคิดเห็นของนักศึกษาต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทั้งทั้งสิ้น 6 ด้าน ได้แก่ การจัดให้มีการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน, การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น, จัดให้มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน, การให้รางวัลหรือเงินโบนัสประจำปี, การให้คำชมเชย และการเป็นแบบอย่างที่ดีของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ทั้งนี้ล้วนเป็นการจูงใจด้วยพฤติกรรมเชิงบวก ซึ่งเหมาะสมกับบริบทและลักษณะนิสัยของคนพื้นถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={พนากอบกิจ วิภาดา and สกุลคู พรพรรณ}, year={2019}, month={ส.ค.}, pages={1–6} }