TY - JOUR AU - ทานะขันธ์, กรรณิกา AU - ศุกรเวทย์ศิริ, พรนภา PY - 2018/04/03 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในจังหวัดมหาสารคาม JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 6 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/117964 SP - AB - <p>วัณโรคปอดเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ความล่าช้าในการรักษาส่งผลต่อความ<br>รุนแรงและการกระจายของโรค การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุก<br>และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ โดยศึกษาใน<br>ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่ คลินิกวัณโรค จำนวน 11 แห่ง ในจังหวัด<br>มหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ<br>สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปโดย<br>ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ควอไทล์ที่ 1และควอไทล์ที่ 3<br>วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว โดยใช้สถิติ Simple logistic regression การวิเคราะห์ความสัมพันธ์<br>แบบพหุตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regressions) แสดงผลด้วยค่า<br>Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95%CI)<br>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 ราย มีความชุกของความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วย ที่<br>ระยะเวลามากกว่า 30 วัน คิดเป็นร้อยละ 31.3 (95%CI= 0.26-0.37) ความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการ<br>สุขภาพของรัฐ ที่ระยะเวลามากกว่า 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 11.7 (95%CI= 0.08-0.15) และความล่าช้าโดยรวม<br>ที่ระยะเวลามากกว่า 60 วัน คิดเป็นร้อยละ 25.1 (95%CI= 0.20-0.30) จากการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร<br>พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง<br>(ORadj= 2.60, 95%CI= 1.3-5.16) ผู้ป่วยที่อายุ &lt;50 ปี (ORadj= 2.20, 95%CI= 1.15-4.20) ระยะเวลาที่สูบ<br>บุหรี่ ≤20 ปี (ORadj= 3.08, 95%CI= 1.56-6.05) การไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม./ผู้นำชุมชน<br>(ORadj= 2.56, 95%CI= 1.39-4.72) จำนวนมวนที่สูบต่อวัน &gt;15 มวน (ORadj= 2.55, 95%CI= 1.25-5.17)<br>ผู้ป่วยที่มีรายได้ต่อเดือน ≤2,000 บาท (ORadj= 2.46, 95%CI= 1.30-4.68) ผู้ป่วยที่จำนวนสมาชิกใน<br>ครอบครัว &gt;3 คน (ORadj= 2.37, 95%CI= 1.35-4.17) และการไม่สงสัยว่าตัวเองป่วยเป็นวัณโรค (ORadj=<br>1.99, 95%CI= 1.07-3.69) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการสุขภาพของรัฐ<br>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การตรวจเสมหะ &gt;3 ครั้ง (ORadj= 10.49, 95%CI= 3.07-35.82) ผลการ<br>วินิจฉัยโรคครั้งแรกของแพทย์พบว่าเป็นโรคอื่น ๆ (ORadj= 9.58, 95%CI= 2.76-33.27) และการไม่ได้รับการ<br>เอกซเรย์ปอด (ORadj= 5.73, 95%CI= 1.81-18.17)<br>จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาเกิดจากผู้ป่วยในลักษณะ<br>ทั่วไปทางด้านบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ และจากระบบบริการสุขภาพ จึงควรมีการดำเนินงานเชิงรุก ในการให้<br>ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรควัณโรค การคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่<br>สาธารณสุขในชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งส่งต่อผู้ที่เข้าข่ายสงสัยป่วยเป็นวัณโรคให้ได้รับการ<br>เอกซเรย์ปอดและตรวจเสมหะทุกราย</p> ER -