TY - JOUR AU - บูรพันธ์, ฤทธิรงค์ AU - เมืองโสม, นิรมล PY - 2018/04/03 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 6 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/117984 SP - 102-109 AB - <p>การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์ปกติของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้<br>ยาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ยิ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิด<br>ภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆเกิดขึ้น ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์โดยใช้วิธี<br>การศึกษาย้อนหลัง แบบจับคู่ (Matched case-control study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ<br>การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ที่<br>มีผลการตรวจฮีโมโกบินเอวันซี (HbA1C) ในปีงบประมาณ 2555 จำนวน 707 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง<br>จำนวน 180 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลใน<br>เลือดไม่ได้ จำนวน 60 คนและกลุ่มควบคุม ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับ<br>น้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 120 คน อัตราส่วนของกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเท่ากับ 1:2 โดยมีการจับคู่เป็น<br>เพศเดียวกันและอายุแตกต่างกันไม่เกิน 3 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์<br>โดยใช้สถิติไคสแควร์และวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อน ด้วยสถิติ Multivariable conditional logistic<br>regression เพื่อทดสอบขนาดและทิศทางความสัมพันธ์ โดยการคำนวณหาค่าอัตราความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่<br>ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 โดยใช้ค่าความเชื่อมั่น 95% (95% confidence interval)<br>ผลการศึกษาการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อนโดยควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่นๆพบว่าปัจจัยที่มีผล<br>ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คือการมีโรคแทรกซ้อน<br>(mORadj=34.75, 95%CI=4.63-260.65) พฤติกรรมด้านการรับประทานยา (mORadj=10.16, 95%CI=<br>2.03-50.79) พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย (mORadj=5.21, 95%CI=1.15-23.64) พฤติกรรมด้านการ<br>จัดการกับความ เครียดที่ไม่เหมาะสม (mORadj=8.99, 95%CI=1.61-50.14)<br>ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึง ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วย<br>โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ศึกษา ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขควรให้ความสำคัญใน<br>ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ แทรกซ้อนของโรคเกิดขึ้น ควรคำนึงถึงพฤติกรรมการดูแล<br>สุขภาพตนเองของผู้ป่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และยังลดอัตราการตายของผู้ป่วย<br>โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้</p> ER -