TY - JOUR AU - นิธิวรเสฏฐ์, กิตติ์ธเนศ AU - เขียวอยู่, จิราพร AU - อึ้งปัญสัตวงศ์, สุพรรณี PY - 2018/04/11 Y2 - 2024/03/29 TI - ตัวแบบการพยากรณ์อุบัติการณ์การเกิดโรคมาลาเรียในจังหวัดอุบลราชธานี จากข้อมูลผู้ป่วยรายเดือนและปัจจัยด้านสภาวะอากาศ JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 4 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118827 SP - 17-26 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบการพยากรณ์อุบัติการณ์การเกิดโรคมาลาเรียที่เหมาะสมที่สุดของพื้นที่จังหวัด<br>อุบลราชธานี โดยเปรียบเทียบระหว่างตัวแบบการพยากรณ์เชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยปัวส์ซอง ที่มีตัวแปรตามเป็น<br>จำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ตัวแปรทำนายเป็นตัวแปรสภาวะอากาศ และตัวแบบการพยากรณ์ของบอกซ์และเจนกินส์ จากข้อมูลอัตรา<br>ป่วยต่อประชากรแสนคน ขั้นตอนการพัฒนาตัวแบบใช้ข้อมูลขนาด 108 ค่า ขั้นตอนการประเมินตัวแบบใช้ข้อมูลขนาด 12 ค่า<br>ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ด้วยตัวแบบการพยากรณ์เชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยปัวส์ซอง เกิดปัญหา<br>ตัวแปรตามมีความแปรปรวนมากกว่าค่าเฉลี่ย จึงแก้ไขโดยใช้ตัวแบบเชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยทวินามเชิงลบ<br>พบว่า ตัวแบบที่ดีที่สุด มีเวลา และอุณหภูมิสูงสุด เป็นตัวแปรทำนาย ในขั้นตอนการพัฒนาตัวแบบ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE<br>เท่ากับ 12.33, 288.53, และ 24.56 ตามลำดับ ในขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของการพยากรณ์ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE<br>เท่ากับ 19.04, 558.22, และ 33.46 ตามลำดับ ตัวแบบการพยากรณ์ของบอกซ์และเจนกินส์ที่ได้ คือ ARIMA(1,0,0) ในขั้นตอนการ<br>พัฒนาตัวแบบ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE เท่ากับ 23.28, 1179.30, และ 38.33 ตามลำดับ ในขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของ<br>การพยากรณ์ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE เท่ากับ 19.45, 590.09, และ 53.00 ตามลำดับ<br>ซึ่งสรุปได้ว่าตัวแบบเชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยทวินามเชิงลบเป็นตัวแบบที่เหมาะสมที่สุด เพราะให้ค่า<br>ความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดไม่ว่าจะพิจารณาจากเกณฑ์ใด และตัวแบบนี้น่าจะมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ เพราะ<br>อาศัยตัวแปรด้านสภาวะอากาศในการทำนายเพียงตัวแปรเดียว คือ อุณหภูมิสูงสุด และเป็นข้อมูลที่หาได้ง่าย</p> ER -