TY - JOUR AU - สมพานทบานสุข, กรแก้ว AU - แสนไชยสุริยา, กนกวรรณ AU - วิดามาลี, วิรัก AU - แสนไชยสุริยา, ภัทระ PY - 2017/07/07 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาระบบคัดกรองธาลัสซีเมีย: รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 9 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/120962 SP - 46-52 AB - <p>ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นหนึ่งในประเทศภูมิภาคเอเชีย<br>ตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความชุกธาลัสซีเมียสูง ปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินงานป้องกันโรคในประเทศ การ<br>ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเลือดจางธาลัสซีเมียต้องการปัจจัยสนับสนุนหลายประการ และปัจจัยหนึ่งที่<br>ควรได้รับการพัฒนาเป็นอันดับแรก คือ ความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์<br>เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการดำเนินงานคัดกรองธาลัสซีเมียระดับชุมชนใน สปป.ลาว โดยดำเนินงานนำร่องใน<br>6 หมู่บ้าน อำเภอแก้วอุดม แขวงเวียงจันทน์ ใช้รูปแบบให้ชุมชนมีส่วนร่วมโดยประชาสัมพันธ์ผ่านสหพันธ์แม่<br>หญิงลาวบ้าน ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย 1 แห่ง และ<br>อาสาสมัครสาธารณสุขบ้าน (อสบ.) ทั้ง 6 หมู่บ้าน จากนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสบ. ทำหน้าที่ให้<br>ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ในชุมชน ประเมินผลการดำเนินงานจากการเข้ารับการคัดกรองธาลัสซีเมียในหญิง<br>วัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 152 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา<br>และสถิติเชิงอนุมาน แสดงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความรู้และทัศนคติ<br>ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้สถิติ Wilcoxon sign-ranked test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br>จากการประเมินความรู้ต่อโรคธาลัสซีเมียก่อนอบรมพบว่า จากคะแนนเต็ม 8 คะแนน เจ้าหน้าที่<br>สาธารณสุข และ อสบ. มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่ากับ 5.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.9) และ 4.2<br>(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.4) ตามลำดับ หลังการอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นเป็น 7.0 (ส่วน<br>เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.5) และ 6.7 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.5) ตามลำดับ จากหญิงวัยเจริญพันธุ์<br>ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 152 ราย มีผู้เข้ารับการคัดกรองธาลัสซีเมีย จำนวน 114 ราย (ร้อยละ 75.0) ผลการศึกษา<br>แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาระบบคัดกรองธาลัสซีเมียระดับชุมชนใน สปป.ลาว มีความเป็นไปได้สูง</p> ER -