TY - JOUR AU - บุญยอแสง, วนิดา AU - ศุกรเวทย์ศิริ, พรนภา PY - 2017/07/07 Y2 - 2024/03/29 TI - ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาเกิดจากผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 8 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121003 SP - 60-67 AB - <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อ<br>หาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาวัณโรคที่เกิดจากผู้ป่วย (Patient delays)<br>เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และคัดลอกข้อมูลของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ใน<br>โรงพยาบาลของแขวงจำปาสักจำนวน 7 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.<br>2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์<br>หาความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว (Simple logistic regression) และตัวแปรหลายตัวด้วยสถิติถดถอย<br>พหุลอจิสติก (Multiple logistic regression) แสดงผลความเสี่ยงสัมพันธ์ด้วย Adjusted OR (ORadj) ที่<br>ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% Cl)<br>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ทั้งหมด 256 คน มีความชุกของ Patient delays<br>&gt;30 วัน พบร้อยละ 20.7 (95%CI: 15.7-25.7), ค่ามัธยฐาน =20 วัน, ค่าควอไทด์ที 1=15 ควอไทด์ที่ 3=30<br>ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ Patient delays อย่างมี<br>นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ของผู้ป่วย ≤600,000 กีบต่อเดือน (ORadj=2.47, 95%CI: 1.02-5.94;<br>p-value=0.043) การไม่ได้รับคำแนะนำในการมาตรวจรักษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ORadj=2.98,<br>95%CI: 1.32-6.75; p-value=0.009)<br>สรุปจากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าเกิดจากตัวผู้ป่วยจากปัจจัย<br>ด้านบุคคลและด้านสังคม ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมเรื่องความรู้และการรับการตรวจรักษาเกี่ยวกับวัณโรค<br>สนับสนุนการค้นหาผู้ป่วย เชิงรุกโดยตรวจคัดกรองคนในชุมชนเขตเทศบาล ทั้งนี้เพื่อให้การรักษาที่รวดเร็ว<br>และลดการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชน</p> ER -