TY - JOUR AU - ภูธรฤทธิ์, นฤมล AU - จิระพรกุล, ชนัญญา AU - พรหมเทศ, สุพรรณี AU - มณีนิล, เนาวรัตน์ AU - จันทะราช, ประจักษ์ AU - อรรคบุตร, ชาญณรงค์ PY - 2019/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ความวิตกกังวลและความเครียดระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง: - JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 12 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/130739 SP - 31-41 AB - <p>การรอส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colonoscopy) เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็ง เป็นสถานการณ์ที่ทำให้มีความวิตกกังวลและความเครียดเกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความวิตกกังวลและระดับความเครียดระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โดยทำการศึกษาในประชากรที่เข้าร่วมโครงการวิจัยตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง การวิจัยเชิงทดลองระดับชุมชนอำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น ที่มีผลการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระโดยวิธีอิมมูโนเคมมิคอล (iFOBT) เป็นบวกจำนวน 92 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p><p>ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความวิตกกังวลระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี (OR<sub>adj</sub>=8.12; 95% CI=2.46- 26.85; p-value=0.001) และกลุ่มที่มีสถานภาพสมรสโสด/หม้าย/หย่าร้าง (OR<sub>adj</sub>=49.05; 95% CI= 5.15-467.59; p-value = 0.001) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี (OR<sub>adj</sub>=3.7; 95% CI= 1.21-9.41; p-value=0.020) และกลุ่มที่มีระยะเวลาตั้งแต่ทราบผลตรวจ iFOBT เป็นบวก จนกระทั่งส่องกล้องกล้องน้อยกว่า 2 เดือน (OR<sub>adj</sub>=9.83; 95% CI=3.22-30.01; p-value&lt;0.001)</p><p>เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางเพื่อลดความวิตกกังวล ผ่อนคลายความเครียดเช่น การให้คำอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจอย่างชัดเจน รวมถึงชี้แจงค่าใช้จ่ายให้ทราบ และควรมีการประเมินติดตามความวิตกกังวลและความเครียดของผู้เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการลดความวิตกกังวล และ คลายความเครียด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี กลุ่มที่มีสถานภาพสมรสสมรสโสด/หม้าย/<br>หย่าร้าง และกลุ่มที่มีระยะเวลาตั้งแต่ทราบผลตรวจ iFOBT เป็นบวก จนกระทั่งส่องกล้องน้อยกว่า 2 เดือน</p> ER -