การวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการจัดการธนาคารขยะของชุมชน บ้านหัวหนอง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุณีรัตน์ ยั่งยืน
  • จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย
  • ธิดารัตน์ สมดี
  • สวรรค์ ธิติสุทธิ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ธนาคารขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะและการมีส่วนร่วมใน
การจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ้านหัวหนอง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม กลุ่มผู้ร่วมวิจัย
ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน ประชาชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน
54 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
การประชุมด้วยกระบวนการ AIC (Appreciation Influence Control) และการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้
ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนกำจัดขยะโดยวิธีให้เทศบาลนำไปกำจัด (ร้อยละ 72.37)
มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง (ร้อยละ 77.42) ประเภทของขยะที่คัดแยก ได้แก่ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง
เหล็ก กระดาษ ถ่านไฟฉาย และเศษอาหาร ผักผลไม้ โดยขยะที่คัดแยกได้ส่วนใหญ่จะนำไปขาย (ร้อยละ
53.75) ทำปุ๋ย (ร้อยละ 23.59) เลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 22.47) และนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ใหม่ (ร้อยละ
4.49) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน ได้แก่ ถังขยะมีจำนวนไม่เพียงพอ เทศบาลเก็บขนไม่สม่ำเสมอ
ทำให้ขยะเน่า ส่งกลิ่นรบกวน มีน้ำเสียจากขยะ มีสัตว์คุ้ยเขี่ย เป็นต้น ส่วนการมีส่วนร่วมในการจัดการ
ธนาคารขยะของชุมชน พบว่า การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหานั้น ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ
การเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะของชุมชน ร้อยละ 41.3 และมีส่วนร่วมระดับมากคือการเสนอ
แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของธนาคารขยะในปีที่ผ่านมา ร้อยละ 45.7 การเสนอความคิดเห็น
เกี่ยวกับสภาพปัญหาขยะในชุมชน ร้อยละ 43.5 การมีส่วนร่วมในการวางแผน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วม
ระดับมาก คือ การแสดงความคิดเห็นในการวางแผนแก้ไขปัญหาของธนาคารขยะ ร้อยละ 52.2 การคัดเลือก
คณะกรรมการธนาคารขยะ ร้อยละ 47.8 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมมาก
ที่สุด คือ การคัดแยกขยะของธนาคารขยะ ร้อยละ 47.8 การเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนราคารับซื้อขยะให้มี
ความเหมาะสม ร้อยละ 43.5 การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ สามารถ
คัดแยกขยะได้ถูกต้องมากขึ้น ร้อยละ 52.2 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายขยะ ร้อยละ 47.8 และการมีส่วนร่วม
ในการติดตามประเมินผล พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมระดับมาก คือ เคยร่วมประชุมกับคณะกรรมการ
ธนาคาร เพื่อประเมินผลว่าการทำกิจกรรมของธนาคารเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ร้อยละ 56.5 และ
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ มีระบบการคัดแยกขยะแต่ละประเภทที่ชัดเจน ร้อยละ 50.0 ขั้นตอน
การให้บริการเป็นระบบ ไม่ยุ่งยาก ร้อยละ 45.7
สรุปผลการศึกษา พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจต่อการจัดตั้งธนาคารขยะของหมู่บ้าน อยากให้
มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะของชุมชน รู้จักวิธีคัดแยก
ขยะได้อย่างถูกต้อง สร้างรายได้ให้กับประชาชน และช่วยลดปริมาณขยะในชุมชน โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็น
การส่งเสริมให้ชุมชนมีจิตสำนึกต่อปัญหาและประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการมีส่วนร่วมในการจัดการเป็นปัจจัยที่
สำคัญ ถ้าทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนก็จะส่งผลให้เกิดการสร้างกลุ่มคนที่สามารถพัฒนาการ
จัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03