ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วีระพงษ์ เรียบพร
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ

คำสำคัญ:

Evaluate, Surveillance Rapid and Response Team (SRRT)

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการประเมินมาตรฐานทีม
เฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับอ าเภอ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ใช้รูปแบบการศึกษา Crosssectional analytical study เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์รายบุคคลที่เป็นสมาชิก SRRT จ านวน 267 คน
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2555 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA version 10.0 ใช้สถิติ
เชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเชิงเดี่ยว (Univariate analysis)
p-value<0.05 และความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติกส์ (Multiple logistic regression) น าเสนอค่า
Adjusted odds ratio (ORadj) ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% CI และ p-value<0.05
ผลการประเมินมาตรฐาน SRRT จ านวน 32 ทีม ผ่านการประเมิน 24 ทีม (ร้อยละ 75.00) และ
จากสมาชิกของ 32 ทีม สุ่มสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน SRRT จ านวน 267 คน อยู่ในทีมที่ผ่านการประเมิน
มาตรฐาน SRRT ตามตัวชี้วัด จ านวน 211 คน (ร้อยละ 79.03) ลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิก SRRTส่วน
ใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.93) อายุเฉลี่ย 34.70 ปี (S.D.=10.47) เคยเข้ารับการอบรมที่เกี่ยวกับระบาด
วิทยา ร้อยละ 84.64 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยา เฉลี่ย 7.15 ปี (S.D.=7.01) เคยร่วมออก
สอบสวนโรค ร้อยละ 93.63 และมีความพึงพอใจต่องานระบาดวิทยาและ SRRT ร้อยละ 48.31 ค่ามัธยฐาน
จ านวนบุคลากร SRRT 13 คนต่อทีม ค่ามัธยฐานจ านวนพื้นที่ต าบลที่รับผิดชอบต่อทีม 9 ต าบล มีผู้ประสานงาน
ทีมตลอดเวลา ร้อยละ 93.26 มีงบประมาณไม่เพียงพอ ร้อยละ 44.94 การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยว พบว่า
มี 2 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินผ่านมาตรฐาน SRRT จ านวนพื้นที่ที่รับผิดชอบ ≤6 ต าบลต่อ
ทีม (OR= 3.32; 95%CI=1.78-6.21; p-value<0.001) และการบริหารงานที่มีความเหมาะสมของหัวหน้า
ทีม (OR= 6.21; 95%CI=1.69-22.87; p-value=0.002) การวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์ โดยควบคุม
ตัวแปร จาก univariate ที่ p-value < 0.20 เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการประเมินผ่านมาตรฐาน
SRRT พบว่า การบริหารงานของหัวหน้า SRRT มีความเหมาะสม (ORadj=4.07; 95%CI=1.04-15.85; p-value=
0.043) จ านวนพื้นที่ที่รับผิดชอบไม่เกิน 6 ต าบล (ORadj=3.00; 95%CI=1.58-5.70; p-value<0.001)
จากการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะในการพัฒนา SRRT ระดับอ าเภอ ควรมีการพัฒนาศักยภาพทั้ง
ด้านองค์ความรู้จากการอบรม การเขียนรายงานสอบสวนโรค และมีทุนสนับสนุนให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ควรลดขนาดของพื้นที่ที่รับผิดชอบต่อทีม เพื่อความรวดเร็วในตรวจจับการระบาด และการสอบสวน
การระบาดของโรคในพื้นที่ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03