การป้องกันอันตรายจากไฟย้อนกลับในงานเชื่อมแก๊ส

ผู้แต่ง

  • ิภารัตน์ โพธิ์ขี

คำสำคัญ:

การป้องกันอันตราย, ไฟย้อนกลับ, งานเชื่อมแก๊ส

บทคัดย่อ

อันตรายที่รุนแรงจากการเชื่อมแก๊สคือการเกิดไฟไหม้ และระเบิด งานเชื่อมยังจัดเป็นงานทีก่อให้เกิดประกายไฟ (Hot work) ก่อนจะทําการเชื่อมต้องมีการก้นพื้นที่เพื่ออป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ จัดเตรียมถังดับเพลิงพร้อมผู้คอยดู (Firewatch man) นอกจากนีÊ อุบัติเหตุทีÉเกิดไฟย้อนกลับขณะทำการเชื่อม ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประกอบกิจการ ช่างเชื่อม คนงานและผู้ที่อยู่ข้างเคียงเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยเคยเกิดอุบัติเหตุมาหลายครั้ง เช่น เหตุแก๊สระเบิดในเรือนวคุณ 15 ที่อู่ต่อเรือหรินทรานสปอร์ต ถังแก๊สอะเซทิลีนขณะก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน หน้าโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้คนงานได้รับบาดเจ็บ1 คน (ศิริพงษ์, ม.ป.ป.) เหตุการณ์ถังออกซิเจนระเบิดที่อู่ซ่อมรถยนต์ ที่ปทุมธานี ขณะช่างกำลังทำการเชื่อมหม้อน้ำรถยนต์ได้เกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) เกิดขึ้นทีÉด้ามเชื่อม(Torch) ผ่านสายส่งแก๊ส (Hose) และอุปกรณ์ปรับแรงดัน (Regulator) และระเบิดทีÉถังออกซิเจนทำให้ ภรรยาเจ้าของอู่ ลูกค้าที่นำรถยนต์มาซ่อมและช่างเชื่อมเสียชีวิตรวม 4 คน ส่วนเจ้าของบาดเจ็บสาหัส (ดาวิษ, ม.ป.ป.) สถานประกอบการร้านซ่อมรถยนต์ มีความเสีÉยงต่อการเกิดไฟย้อนกลับ (Flashback) เช่น สถานประกอบการร้านซ่อมรถยนต์ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95.2) ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ ร้อยละ 59.5 ไม่มีการตรวจสอบอุปกรณ์การเชื่อม สายส่งแก๊สอยู่ในสภาพชำรุด แตกลายงา และต่อสายส่งแก๊สไม่ถูกวิธี คนงานไม่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานเชื่อม (ร้อยละ 85.7) และการป้องกันเพลิงไหม้(ร้อยละ 62.1)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์