ปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้ า อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • พรรณี นันทะแสง
  • กาญจนา นาถะพินธุ

คำสำคัญ:

ปัญหาสุขภาพ, ช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของ
ช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้ า ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 159 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์
วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นแรงงานนอกระบบ ในชุมชน
มีอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 54.1 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 82.4 การศึกษาประถมศึกษาร้อยละ 74.2
และไม่เคยได้รับการศึกษาหรือฝึกอบรมทางด้านเชื่อมโลหะร้อยละ 86.8 พบว่าทำงานทุกวัน ร้อยละ
35.9 และทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 81.8 สูบบุหรี่ ร้อยละ 62.3 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่ม
อาการทางกล้ามเนื้อมากสุดคือ อาการปวดกล้ามเนื้อแขน ร้อยละ 83.0 มีอาการตลอดเวลา ร้อยละ
1.26 รองลงมาคือ อาการปวดกล้ามเนื้อขา ร้อยละ 82.4 ปวดหัวไหล่ ร้อยละ 79.9 และปวดตามหลัง
ร้อยละ 77.4 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับการสัมผัสสารเคมีและแหล่งความร้อน มี
อาการระคายเคืองผิวหนัง ตา จมูก มากที่สุด ร้อยละ 50.1 รองลงมา ร้อยละ 38.1 มีอาการผื่นคันและ
วิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 31.4 ตามลำดับ การทำงานกลางแจ้ง มีอาการอ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก มาก
ที่สุด ร้อยละ 78.6 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการทางตา มีอาการเคืองตาน้ำตาไหลร้อยละ 67.3
รองลงมาคือ มีอาการปวดเมื่อยตา ตาพร่ามัว ร้อยละ 67.1 และได้รับบาดเจ็บทางตาจากการทำงาน ร้อย
ละ 68.6 มีอาการแพ้แสง ลืมตาไม่ขึ้น รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา ตาแดง มากเป็นอันดับแรกร้อยละ
84.0 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ พบว่า มีอาการระคายเคืองจมูกและลำคอ
ร้อยละ 59.1 รองลงมาคือ หายใจขัด หอบเหนื่อยง่าย ร้อยละ 42.8 และปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการ
ที่เกี่ยวกับการได้ยิน มีอาการรู้สึกรำคาญ หงุดหงิด มากที่สุด ร้อยละ 60.7 รองลงมาคือ รู้สึกหูอื้อ ร้อยละ
60.0 ปัญหาโรคประจำตัว ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์พบว่าโรคที่เป็นมากที่สุดคือ กล้ามเนื้ออักเสบ
ร้อยละ 27.7 รองลงมาคือ โรคภูมิแพ้/หอบหืด และโรคปวดตึงกล้ามเนื้อ/มีพังพืด ร้อยละ 13.2 และร้อย
ละ 11.9 สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่มีถังดับเพลิงไว้ในบริเวณที่ปฏิบัติงาน ร้อยละ 94.3 การเชื่อมบนที่
สูง ไม่มีผ้ากันไฟหรือถาดรองไฟป้ องกันสะเก็ดไฟร่วงหล่น ร้อยละ 95.8 และที่พักรับประทานอาหารไม่มี
การแยกเป็นสัดส่วนจากที่ปฏิบัติงาน ร้อยละ 52.2 อุปกรณ์ป้ องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงานไม่มี
ปลั๊กอุดหู ครอบหู และหน้ากากกรองควันเชื่อม ร้อยละ 100 ผลการศึกษานี้บอกถึงปัญหาสุขภาพและ
สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นแรงงานนอกระบบในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้ าระวัง
ปัญหาสุขภาพ การควบคุมและป้องกันปัญหาสุขภาพ รวมถึงการป้องกันการบาดเจ็บจากการประกอบ
อาชีพ ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการปฏิบัติงานของช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้ า
ร่วมถึงการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาสุขภาพกลุ่มช่างเชื่อมโลหะและ
แรงงานนอกระบบกลุ่มอาชีพอื่นๆ ในชุมชนต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03