ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมการดื่ม สุราของประชาชน ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จิราพร เขียวอยู่
  • ปิญากรณ์ ชุตังกร
  • สุวรรณา อรุณพงค์ไพศ อรุณพงค์ไพศาล

คำสำคัญ:

ปัญหาพฤติกรรมการดื่ม สุรา, ความชุก, ปัจจัยสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถปุ ระสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราของประชาชนอายุระหว่าง 15-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ตัวอย่างมีจำนวน 695 คน สุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบคัดกรองภาวะดื่มแอลกอฮอล์แบบอันตรายและภาวะติดสุรา และแบบวินิจฉัยโรค Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I) 5.0.0 ฉบับภาษาไทย ผู้มีปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุรา ได้แก่ ผู้ที่มีผลจากการคัดกรอง และผลการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ด้วย M.I.N.I. 5.0.0 เป็นบวก ผลการวิจัยพบความชุกของปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราในภาพรวม เท่ากับร้อยละ 6.6 (95%CI=2.5-10.7) ความชุกของปัญหานี้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง คิดเป็นอัตราส่วน 9.4 ต่อ 1 (ร้อยละ 23.4, 95%CI=11.4-35.4 และร้อยละ 2.5, 95%CI=-0.3-5.3 ตามลำดับ) วิเคราะห์หาปัจจัยสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราด้วยการถดถอยพหุโลจิสติก พบว่าตัวอย่างที่พบอัตราเสี่ยงสูงต่อการมีปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุรา ได้แก่ ผู้ที่เป็นเพศชาย (ORadj=12.48, 95%CI=4.11-37.92) ผู้มีสถานภาพสมรสโสด หม้าย หย่า หรือคู่แต่แยกกันอยู่ (ORadj=3.02, 95%CI=1.77-5.14) และผู้มีปัญหาจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาใคร (ORadj=2.40, 95%CI=1.18-4.87) สรุป ปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราของประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น มีความชุกทีต่ำกว่า การสำรวจของกรมสุขภาพจิต ปี 2551เล็กน้อย ทีมสุขภาพจิตควรจัดบริการดูแลปัญหานี้เป็นพิเศษให้แก่กลุ่มประชากรเพศชาย และดำเนินการหาข้อมูลจากชุมชนเพื่อค้นหากลุ่มคนที่ไม่มีคู่สมรส หรือผู้ที่แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง โดยไม่ปรึกษาใคร แล้วจัดบริการดูแลปัญหานี้ให้แก่บุคคลเหล่านี้ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ