การจัดการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุริยนต์ โคตรชมพู
  • อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์
  • ทองหล่อ เดชไทย

คำสำคัญ:

การจัดการ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การควบคุมความดันโลหิต

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ถ้าไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้จะมีผลทำให้เกิดความพิการ และ
เสียชีวิตก่อนวัยอันควร จึงก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากร บุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่ง
ทดลอง มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความรู้ แรงจูงใจ พฤติกรรมการป้องกันโรค และความดันโลหิตของผู้ป่วยโรค
ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ของอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่
กำหนด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่มารับบริการที่สถานีอนามัยตำบลคลองหนึ่ง จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มที่มา
รับบริการสถานีอนามัยตำบลคลองสอง จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค
ร่วมกับแนวคิดวงจรคุณภาพในการศึกษา และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t – test และ Paired t -test
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายกันคือในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบส่วนใหญ่เป็นเพศ
หญิงมีอายุระหว่าง 61-70 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูงมาเป็นระยะเวลา 1-5 ปี และ 6-10 ปี ตามลำดับ หลังการทดลอง
กลุ่มทดลองมีความรู้ แรงจูงใจ พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต สูงขึ้น ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีกว่าก่อนการทดลอง
และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบมีระดับความรู้ แรงจูงใจ พฤติกรรมการควบคุมความดัน
โลหิตสูงขึ้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
โดยสรุป การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ร่วมกับแนวคิดวงจรคุณภาพมีส่วนช่วยให้ระดับความรู้ แรงจูงใจ
พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตและความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุเปลี่ยนแปลงไปในทาง
ที่ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ