ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการจัดการอาหารปลอดภัยของนักเรียน ชมรมเยาวชนคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ณภัทร ลอยล่อง
  • รจฤดี โชติกาวินทร์
  • วันดี นิลสำราญจิต

คำสำคัญ:

การจัดการอาหารปลอดภัย, อย.น้อย, ความรู้, ทัศนคติ, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และสร้างสมการทำนายของเพศ ระดับการศึกษา เกรดเฉลี่ย ระยะเวลาการเป็นสมาชิก อย.น้อย วิธีการเข้ามาเป็น อย.น้อย การได้รับการอบรมฟื้นฟู ความรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ กับการปฏิบัติงานของ อย.น้อย ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี จ านวน 239 คน สุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยการท านายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษา พบว่า อย.น้อย ส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 69.0 โดยมีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 52.72 และ 47.28 ตามล าดับ) เกรดเฉลี่ยเท่ากับ 3.29ระยะเวลาการเป็นสมาชิก อย.น้อย เฉลี่ย 2.03 ปี ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นโดยวิธีสมัครใจ ร้อยละ 70.7และเคยได้รับการอบรมฟื้นฟูจ านวน 1 ครั้ง ร้อยละ 69.5 ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 73.6 (x ̅=8.45, S.D.=4.13) ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ74.9 (x ̅=32.94, S.D.=5.52) แรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 83.3 (x ̅=26.54,S.D.=3.28) และมีการปฏิบัติงานการจัดการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 66.1 (x ̅=7.00, S.D.=2.78) โดยแรงจูงใจ ระยะเวลาการเป็น อย.น้อย เพศ และทัศนคติ เป็นปัจจัยที่ร่วมกันท านายการปฏิบัติงานการจัดการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนของ อย.น้อย จังหวัดจันทบุรีได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถร่วมกันท านายได้ร้อยละ 16.4 (Adjust R2=0.164, p-value<0.001) สมการดังนี้ Z' PT = 0.224 Z' MO + 0.195 Z' T + 0.179 Z' SEX+0.138 Z' AT

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11