สภาวะที่เหมาะสมต่อการใช้เอนไซม์เซลลูเลสแยกอะลูมิเนียมฟอยล์ ออกจากชั้นกล่องนม

ผู้แต่ง

  • รจิตรา นววงศ์อนันต์
  • สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์
  • เพ็ญศรี ปลั่งกลาง
  • Reiner Claus

คำสำคัญ:

สภาวะที่เหมาะสม, เอนไซม์เซลลูเลส, แยกชั้นกล่องนม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental) โดยการใช้เอนไซม์
เซลลูเลสทำปฏิกิริยากับกล่องนมชนิด UHT เพื่อให้องค์ประกอบของกล่องนมทั้งสามชั้น
หลุดออกจากกันและสามารถแยกแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ออกมาใช้ประโยชน์ได้ ใน
ชั้นกล่องนมประกอบไปด้วย พลาสติก (Polyethylene) กระดาษ (Paper) และแผ่น
อะลูมิเนียม (Aluminum foil)
การศึกษาทดลองครั้งนี้โดยมีการทดลองแบ่งออกเป็น 3 ช่วงการทดลอง คือ
ช่วงที่ 1 ทดลองหาช่วงที่เหมาะสมที่สุดของปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์เซลลูเลสที่
ทำให้เกิดการแยกชั้นของกล่องนมทั้ง 4 ปัจจัย คือ ปริมาณของเอนไซม์เซลลูเลส ความเร็วใน
การกวน ค่าความเป็น กรด-ด่าง (pH) และอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำปฏิกิริยา
ของเอนไซม์เซลลูเลส เพื่อแยกอะลูมิเนียมฟอยล์ออกจากชั้นของกล่องนมอย่างสมบูรณ์
ช่วงที่ 2 ทดลองหาปริมาณซับสเตรทต่อปริมาณเอนไซม์ 1 กรัมที่เหมาะสมที่สุด และช่วงที่ 3
ทดลองหาความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสที่ได้หลังจากการทำปฏิกิริยา
ผลจากการทดลองครั้งนี้ได้ว่า จากการทดลองขั้นที่ 1 ปริมาณของเอนไซม์
เซลลูเลสที่เหมาะสมที่สุด คือ ปริมาณ 1 กรัม ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมที่สุด
คือ pH 6.8 ที่ได้จากชุดควบคุม (Control) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการแยกชั้นกล่องนมได้
มากกว่าการใช้ซิเตรทบัฟเฟอร์ ค่าความเร็วการกวนที่เหมาะสมที่สุด คือ 150 รอบต่อนาที
และอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุด คือ อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส จากการทดลองขั้นที่ 2
ปริมาณชิ้นกล่องนม (Substrate) ที่เหมาะสมที่สุด คือ ชิ้นกล่องนมปริมาณ 40 กรัมต่อ
สารละลายเอนไซม์เซลลูเลส 1 กรัมและจากการทดลองขั้นที่ 3 พบว่า พบว่าความเข้มข้น
ของน้ำตาลกลูโคสแปรผันตรงกับปริมาณชิ้นกล่องนมที่ใช้ คือ กล่องนมปริมาณ 10 20 30
40 และ 50 กรัมตามลำดับ มีความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคส 0.29 0.961.10 1.51 และ
5.17 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ
การศึกษาทดลองครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในอุตสาหกรรมการแยก
องค์ประกอบของกล่องนมโดยการใช้วิธีทางชีวภาพได้ และในการศึกษาครั้งต่อไปอาจ
ทดลองทำเป็นแบบจำลองถังขนาดเล็กเปรียบเทียบความคุ้มค่าและประสิทธิภาพระหว่าง
ถังที่ใช้เอนไซม์เซลลูเลส และถังที่ใช้พลังงานในการปั่นเหวี่ยง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07