ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดในโรงพยาบาล 3 แห่ง นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • พูทอง รัตนวงศ์
  • บุญถม เพ็งมี
  • คำเส็ง พิลาวง

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะสุขภาพทารกแรกคลอด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อประเมินความชุกภาวะโลหิตจางใน
หญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดที่มาคลอดในโรงพยาบาล 3 แห่งในนครหลวงเวียงจันทน์ ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสด
โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรงพยาบาลเชษฐาธิราช กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง
37-42 สัปดาห์ และทารกแรกคลอดจำนวน 360 ราย เก็บข้อมูลทั่วไป ประวัติการตั้งครรภ์ ภาวะโภชนาการ
พฤติกรรมด้านโภชนาการ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินก่อนคลอด และข้อมูลด้านสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
ข้อมูลน้ำหนัก ความยาว ความเส้นรอบวงศีรษะและ Apgar score ของทารกแรกคลอด โดยใช้แบบ
สัมภาษณ์และแบบบันทึก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์กับภาวะสุขภาพของ
ทารกแรกคลอดด้วยสถิติทดสอบ Chi-square นำเสนอด้วยค่า OR และ 95% CI ของ OR กำหนดระดับ
นัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value<0.05
ผลการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์จำนวน 360 ราย พบว่า มีภาวะโลหิตจางก่อนคลอดในหญิงตั้งครรภ์
ร้อยละ 31.4 โดยเป็นภาวะโลหิตจางระดับเบาบาง และปานกลาง ร้อยละ 20.2 และ 11.2 ตามลำดับ การศึกษา
สุขภาพทารกแรกคลอดจำนวน 360 ราย พบว่า ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<2500 กรัม) ร้อยละ
5.3 ความยาวต่ำกว่าเกณฑ์ (<48 เซนติเมตร) ร้อยละ 13.9 เส้นรอบศีรษะต่ำกว่าเกณฑ์ (<33 เซนติเมตร)
ร้อยละ 50.8 และ Apgar score ต่ำกว่าเกณฑ์ (≤7 คะแนน) ร้อยละ 2.5 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดกับสุขภาพทารกแรกคลอด พบว่า ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
ก่อนคลอดไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักแรกคลอด ความยาว และ Apgar score ของทารกแรกคลอด
(p-value>0.05) แต่พบความสัมพันธ์กับเส้นรอบวงศีรษะของทารกแรกคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value=0.0035) โดยทารกแรกที่คลอดจากแม่ที่ไม่มีภาวะโลหิตจางมีความเสี่ยงต่อการมีความยาวเส้นรอบ
วงศีรษะต่ำกว่าเกณฑ์เท่ากับ 1.96 เท่า (95% CI=1.21-3.18) ของทารกที่คลอดจากแม่ที่มีภาวะโลหิตจาง
จากความชุกภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดค่อนข้างสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงาน
อนามัยแม่และเด็ก ควรรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ให้เร็วขึ้นร่วมกับการมาติดตามการฝาก
ครรภ์ให้มากขึ้นเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย ดูแลอย่างถูกต้องจากแพทย์ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคภาวะโลหิตจาง
ในหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07