ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการเกินในเด็กอายุ 10–15 ปี

ผู้แต่ง

  • ปัญญา พระวงศ์

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการเกิน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการเกิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานประจา (R2R) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาแบบ
ตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการเกินในเด็กอายุ 10–15 ปีเก็บข้อมูลโดยใช้
แบบสัมภาษณ์ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเด็กอายุ 10–15 ปีในเขตพื้นที่ตาบลพระลับอาเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ขนาดตัวอย่าง 440คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiplelogistic
regression และนาเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odd ratioและช่วงเชื่อมั่น95%
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย รับเงินมาโรงเรียนตั้งแต่วันละ20-200 บาท
ส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับโภชนบัญญัติและธงโภชนาการในระดับต่าปฏิบัติตามธงโภชนาการระดับสูง ร้อยละ
51.95และร้อยละ44.35ในกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการเกินและกลุ่มที่ไม่มีภาวะโภชนาการเกินตามลาดับการ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับภาวะโภชนาการเกินด้วยสถิติทดสอบถดถอยพหุลอจิสติกพบว่า
กลุ่มตัวอย่างที่รับประทานข้าวในปริมาณที่ธงโภชนาการกาหนดมีโอกาสมีภาวะโภชนาการเกิน2.04เท่าของ
กลุ่มที่รับประทานข้าวในปริมาณที่ผิดปกติ (95% CI : 1.45–2.89) กลุ่มตัวอย่างที่รับประทานผักในปริมาณที่
ธงโภชนาการกาหนดมีโอกาสมีภาวะโภชนาการเกิน0.36 เท่าของกลุ่มที่รับประทานผักในปริมาณที่น้อยกว่า
ปริมาณที่ธงโภชนาการกาหนด (95% CI : 0.15–0.84) และกลุ่มตัวอย่างที่รับประทานนมในปริมาณที่ธง
โภชนาการกาหนดมีโอกาสมีภาวะโภชนาการเกิน1.57 เท่าของกลุ่มที่รับประทานนมในปริมาณที่น้อยกว่า
ปริมาณที่ธงโภชนากาหนด (95% CI : 1.45–2.89)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07