พฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของเยาวชนที่อาศัยอยู่ใน เขตบ้านพักทหารจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศิรประภา มั่นกลาง
  • ณิตชาธร ภาโนมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านพักทหารไม่น้อยกว่า
6 เดือน มีอายุระหว่าง 13-18 ปี จำนวน 157 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์คือ
Spearman’s rank order correlation Pearson correlation และ Chi-square test ผลการศึกษา พบว่า
เยาวชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในปัจจุบัน ร้อยละ 47.8 เมื่อแยกตามเพศพบว่า เป็นเพศชาย ร้อยละ
24.2 เพศหญิง ร้อยละ 23.6 เยาวชนดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกเฉลี่ยอายุ 14.9 ปี เครื่องดื่มชนิดแรกที่เยาวชน
ดื่มมากที่สุดคือ เบียร์ ร้อยละ 49.4 สาเหตุที่ดื่มอันดับแรกคือ อยากลอง ร้อยละ 38.5 โดยสาเหตุที่ยังคงดื่ม
ในปัจจุบันคือ ดื่มเพื่อเข้าสังคมและสังสรรค์กับเพื่อน ร้อยละ 94.7 โดยส่วนใหญ่มักดื่มกับเพื่อน ร้อยละ 97.3
สำหรับความถี่ของการดื่มส่วนใหญ่จะดื่มบ้างบางครั้ง ร้อยละ 41.7 ความรู้ในทางที่ถูกและทัศนคติเกี่ยวกับ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 59.2 และ 42.1 ในด้านภาวะโภชนาการพบว่า เยาวชนที่มี
ภาวะน้ำหนักเกินและค่อนข้างเตี้ย ร้อยละ 10.2 และ 4.5 เมื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนพบว่า ปัจจัยนำ คือ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการรับรู้ถึง
ผลกระทบในด้านที่ไม่ดีต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.011 และ p=0.046) ปัจจัย
เอื้อ คือ การเข้าถึงแหล่งซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย การใช้เวลาว่าง สถานภาพที่ดีทางเศรษฐกิจและ
งานเลี้ยงสังสรรค์ (p=0.025, 0.001, 0.001 และ 0.021) ปัจจัยเสริม คือ การได้รับอิทธิพลการดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์จากเพื่อนสนิท (p=0.001) ดังนั้นผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญ เพิ่มความ
สนใจ เอาใจใส่ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมและหาแนวทางป้องกันต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ