พฤติกรรมการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริก บ้านดอนแดงใหญ่ ตาบลหนองเหล่า อาเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สมจิต บุญพา
  • พรพรรณ สกุลคู

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, พริก, สารเคมีกาจัดศัตรูพืชเกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริก บ้านดอนแดง
ใหญ่ ตาบลหนองเหล่า อาเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ
การสังเกตพฤติกรรมในกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกพริก จานวน 77 คน โดยใช้สถิติพรรณนา
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA
ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกพริกส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 67.53) อายุเฉลี่ย 48 ปี
ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 66.23) เกษตรกรบางส่วนเป็นผู้นาในชุมชน (ร้อยละ
75.32) โดยเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) เกษตรกรมีขนาดพื้นที่ถือครองทาง
การเกษตรเฉลี่ย 19 ไร่ต่อคน แต่มีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ยเพียง 2 ไร่ต่อคน มีรายได้ที่มาจากการปลูกพริก
เฉลี่ย 80,291 บาทต่อปี ส่วนใหญ่เกษตรกรผู้ปลูกพริก (ร้อยละ 84.21) กู้เงินมาลงทุน เฉลี่ยรายละ
117,302 บาท การกู้ยืมนิยมกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและกองทุนหมู่บ้าน
เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกพริกเฉลี่ย 15 ปี โดยเริ่มเพาะกล้าช่วงเดือนกันยายน พันธุ์พริกที่
นิยมปลูกถึงร้อยละ 46 คือ พันธุ์หัวเรือดอและ พันธุ์จินดา ปลูกเป็นแถวคู่ ระยะ 150x150 เซนติเมตร
จานวน 1 ต้นต่อหลุม ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ด้วยวิธีโรยรอบทรงพุ่ม
เกษตรกรกาจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคนและพ่นสารเคมี โรคพริกที่พบเป็นปัญหา คือ โรครากและโคน
เน่า โรคราแป้ง โรคกุ้งแห้ง โรคใบจุด โรคยอดเหี่ยว โรคใบหงิก และโรคใบด่าง ตามลาดับ แมลงศัตรู
พริก คือ หนอนแมลงวันทอง หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย เต่าทอง ไรขาว เพลี้ยอ่อน และ
เพลี้ยไฟ ตามลาดับ เกษตรกรเก็บเกี่ยวพริกผลสุก (สีแดง)มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกาจัด
ศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริกจากการศึกษา 30 ประเด็น เกษตรกรมีการปฏิบัติตามคาแนะนาใน
การใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกครั้ง แต่ยังคงมีหลายประเด็นที่เกษตรกรยังคงมีการปฏิบัติบางครั้งซึ่ง
เป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการรับสัมผัสสารเคมีได้มาก คือ การใช้ปากเปิดขวดสารเคมีและใช้ปากเป่า
หรือดูดหัวฉีดพ่นสารเคมีเมื่อประสบปัญหาการอุดตันของหัวฉีดซึ่งเกษตรกรให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่
สุดวิสัยเนื่องจากอยู่กลางสวนเวลาหัวฉีดตันถ้าไปหาช่างระยะทางไกล และกลัวว่าจะฉีดพ่นสารไม่
เสร็จ
การสร้างความตระหนักด้านผลกระทบและความรุนแรงเกี่ยวกับการใช้สารกาจัดศัตรูพืชให้กับ
เกษตรกร เน้นกระบวนการ การมีส่วนร่วมของชุมชนรวมถึงการให้ข้อมูลความรู้ในการป้องกันอันตราย
ส่วนบุคคลในเกษตรกร ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันหรือ ลดปัญหาจากการได้รับ
ผลกระทบจากการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชได้ดี อันนาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ