ผลของการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบกระบวนการมีส่วนร่วมต่อความรู้และความตระหนัก เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารเขตเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ศรุตยา ประภาพันธ์
  • รจฤดี โชติกาวินทร์
  • วันดี นิลสาราญจิต

คำสำคัญ:

การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบกระบวนการมีส่วนร่วม (A-I-C), ความรู้, ความตระหนัก, การสุขาภิบาลอาหา, ผู้สัมผัสอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มนี้ มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้และความตระหนัก เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
ของผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารเขตเทศบาลนครนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสอาหารใน
ร้านอาหารเขตเทศบาลนครนครปฐม จานวน 60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลอง
และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับการอบรมหรือให้
ความรู้ใดๆ ส่วนกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบกระบวนการมี
ส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร รวบรวม
ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และความตระหนักทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนและหลังการทดลอง
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เฉลี่ย (คะแนน
เฉลี่ย 20.6±2.0 คะแนน) มากกว่าก่อนการทดลอง (คะแนนเฉลี่ย 15.9±2.9 คะแนน) อย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติ (p-value=0.001) ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย
ก่อนการทดลอง (คะแนนเฉลี่ย 14.6±.2 คะแนน) และหลังการทดลอง (คะแนนเฉลี่ย
14.2±2.7 คะแนน) ใกล้เคียงกัน และกลุ่มทดลองมีคะแนนความตระหนักเฉลี่ยหลังการ
ทดลอง (คะแนนเฉลี่ย 46.6±3.8 คะแนน) มากกว่าก่อนการทดลอง (คะแนนเฉลี่ย
39.8±2.2 คะแนน) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value=0.001) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ มี
คะแนนความตระหนักเฉลี่ยก่อนการทดลอง (คะแนนเฉลี่ย 33.6±2.0 คะแนน) และหลัง
การทดลอง (คะแนนเฉลี่ย 33.5±1.9 คะแนน) ไม่แตกต่างกัน โดยก่อนการทดลอง กลุ่มทดลอง
มีคะแนนความตระหนักเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
(p-value=0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ