ข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิภาดา พนากอบกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพรรณ สกุลคู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

อคิดเห็น, การส่งเสริม, นักศึกษา, อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล, โรงงานอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การทำงานอย่างปลอดภัยในโรงงานคือการช่วยกันสร้างความปลอดภัยในการทำงานโดยวิธีการป้องกันมิให้เกิดขึ้น อาจโดยการควบคุมและการจัดสภาพการทำงานให้ปลอดภัย รวมทั้งการมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เพียงพอแก่พนักงานในสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักศึกษาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยชั้นปีที่ 4 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 29 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการจัดอบรมให้ความรู้ให้แก่พนักงานร้อยละ 51.7 นักศึกษา มีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลร้อยละ 44.8 นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการด้วยการให้รางวัลหรือเงินโบนัส ร้อยละ 41.4 นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการจัดกิจกรรมหรือโครงการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมร้อยละ 27.6 นักศึกษามีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการให้คำชมเชยแก่พนักงานที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาทำงานร้อยละ 10.3 และนักศึกษา มีข้อคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) เป็นแบบอย่างที่ดีให้พนักงานได้เห็นและปฏิบัติตาม ร้อยละ 6.9 สรุปได้ว่าข้อคิดเห็นของนักศึกษาต่อวิธีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทั้งทั้งสิ้น 6 ด้าน ได้แก่ การจัดให้มีการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน, การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น, จัดให้มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน, การให้รางวัลหรือเงินโบนัสประจำปี, การให้คำชมเชย และการเป็นแบบอย่างที่ดีของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ทั้งนี้ล้วนเป็นการจูงใจด้วยพฤติกรรมเชิงบวก ซึ่งเหมาะสมกับบริบทและลักษณะนิสัยของคนพื้นถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

References

จอมขวัญ โยธาสมุทร, เชิญขวัญ ภุชฌงค์, ทรงยศ พิลาสันต์, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ยศ ตีระวัฒนานนท์, ศิริญญา ธีระอนันต์ชัย, และคณะ. (2553). การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพนักงานโรงงานและคนงานก่อสร้าง : บทบาทของการตลาดเพื่อสังคม. ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561, จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/2981/hs1700.pdf?sequence=3& isAllowed=y

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2554). พฤติกรรมและการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตย์ ทัศนิยม, & สมพนธ์ ทัศนิยม. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพ: การสร้างพลังอำนาจ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และคณะ. (2553). การสร้างเสริมสุขภาพ: แนวคิด หลักการและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). ภาวะสุขภาพของแรงงานไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

หลักความปลอดภัยในโรงงาน. (2560). ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.tbcindia.org/หลักความปลอดภัยภายในโรง

อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. (2555).การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Donham, K. J., Lange, J. L., Kline, A., Rautiainen, R. H., & Grafft, L. (2011). Prevention of occupational respiratory symptoms among certified safe farm intervention participants. Journal of Agromedicine, 16(1), 40–51.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. Retrieved April 2, 2017, from http://s-f-walker.org.uk/pubsebooks/ pdfs/Motivation_and_Personality-Maslow.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31