ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงของประชากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • คณยศ ชัยอาจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Colorectal Cancer; CRC) เป็นโรคที่พบบ่อย 1 ใน 5 อันดับแรกของโรคมะเร็งของประชากรทั่วโลก ในประเทศไทยเพศชายพบอุบัติการณ์ (Age Standardized Rate; ASR) 14.4 ต่อประชากรแสนคน และเพศหญิง ASR 11.2 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดขอนแก่น พบ ASR ในเพศชาย 13.1 ต่อประชากรแสนคน เพศหญิง 9.0 ต่อประชากรแสนคน ทั้งนี้สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงอาจมีหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญความรู้ที่เกี่ยวข้องอาจช่วยให้ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันตนเองได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงของประชากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ลงนามในใบยินยอมเข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระโดยวิธีอิมมูโนเคมมิคอล (iFOBT) ในประชากรไทยอายุ 45-74 ปี: การวิจัยเชิงทดลองในระดับชุมชน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 310 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เมื่อได้ครบตามจำนวนแล้วหยุดทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) กรณีที่ข้อมูลมีการแจกแจงปกตินำเสนอความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกรณีที่ข้อมูลแจกแจงไม่ปกติ นำเสนอค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด โดยคะแนนความรู้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามเกณฑ์ของบลูม ได้แก่ ความรู้ระดับต่ำ ความรู้ระดับปานกลาง และความรู้ระดับสูง

กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 58.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.7 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 75.5 จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา ร้อยละ 74.8 มีรายได้ครอบครัวต่อเดือนเฉลี่ย 5,359.3 บาท ไม่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง ร้อยละ 85.5 มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 78.4 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.7 คะแนน (S.D.±1.5) จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน มีความรู้เกี่ยวกับอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 50.6 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.5 คะแนน (S.D.±2.1) จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน มีความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 83.2 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.3 คะแนน (S.D.±1.0) จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน และมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระดับอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 85.5 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.9 คะแนน (S.D.±0.7) จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน

ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคและความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นควรมีการส่งเสริมความรู้เรื่องสาเหตุการเกิดและความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

References

ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์. (2560). มะเร็งลำไส้ใหญ่[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://charuwat.tripod.com [20 ต.ค. 2560].
ทะเบียนมะเร็งประชากรจังหวัดขอนแก่น. (2560). ระบุตำแหน่งโรคตามคู่มือของ International code disease- oncology 3 edition (ICD-O- 3rd). ข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2560.
ประสพสุข จุรุฑา (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักของประชากร อายุ 50-70 ปี ในตำบลกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Douglas, KR. and Liangpunsakul, S. (2007). Cololectal Cancer Screening. The American College of Gastroenterology, 2007. Fatima AH, Robin PB. Colorectal Cancer Epidemiology: Incidence, Mortality, Survival, and Risk Factors. Clinics in Colon and Rectal Surgery 2009; 22(4): 191-197
Majid A. Almadi, Mahmoud H. Mosli, Mohamed S. Bohlega, Mohanned A. Al Essa, Mohammed S. AlDohan, Turki A. Alabdallatif. et al. (2015). Effect of Public Knowledge, Attitudes, and Behavior on Willingness to Undergo Colorectal Cancer Screening Using the Health Belief Model [Electronic version]. Saudi J Gastroenterol, 21(2), 71–77.
Navkiran K, Shokar Carol A. Carlson, and Susan C. Weller. (2008). Factors Associated with Racial/Ethnic Differences in Colorectal Cancer Screening. JABFM 21(5): 414-426.
Ng ES, Tan CH, Teo DC, Seah CY, and Phua KH. (2007). Knowledge and perceptions regarding colorectal cancer screening among Chinese--a community-based survey in Singapore [Electronic version]. Preventive Med, 45(5), 332 – 5.
Pongdech Sarakarn, Krittika Suwanrungruang, Patravoot Vatanasapt, Surapon Wiangnon, Supannee Promthet, Kriangsak Jenwitheesuk. et al. (2017). Joinpoint Analysis Trends in the Incidence of Colorectal Cancer in Khon Kaen, Thailand (1989-2012). Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 18(4), 1039-1043.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15