คุณภาพของการรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ปรีชา ลากวงษ์
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ

คำสำคัญ:

คุณภาพ, รายงาน, ไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาคุณภาพของการรายงานผู้ป่ วยโรคไข้เลือดออก ในโรงพยาบาลของรัฐของจังหวัดยโสธร
และศึกษาค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวกและผลลบ ของการรายงานผู้ป่ วย
ไข้เลือดออก ในระบบรายงาน 506/507 และการวินิจฉัยของแพทย์เบื้องต้นของผู้ป่ วย
ไข้เลือดออก เปรียบเทียบกับรายงานผู้ป่ วยในระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาลของรัฐ ประชากรที่
ศึกษาเป็นผู้ป่ วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2553 ในโรงพยาบาล
ของรัฐของจังหวัดยโสธรทั้งหมด 9 แห่ง โดยค้นหาผู้ป่ วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ
(ICD-10) A90, A91, B349 และ R509 พบประชากรที่ศึกษา จำนวน 7,125 ราย พบกลุ่ม
ตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ป่ วย เข้าข่ายตามนิยามที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 890 ราย เก็บข้อมูลตามแบบ
คัดลอกที่สร้างขึ้นเองได้ จำนวน 732 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิง
พรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่ามัธยฐาน ผลการศึกษาพบว่า
ความครบถ้วนของการรายงานผู้ป่ วย DHF ร้อยละ 30.5 (223 ราย) โดยตัวแปรมีความ
ครบถ้วนทุก ตัวแปร (223 ราย) ความถูกต้อง พบตัวแปรที่รายงานความถูกต้องครบทุกราย คือ
ตัวแปรเพศ ตัวแปรที่มีความถูกต้องต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย วันพบ
ผู้ป่ วย และวันเริ่มป่ วย ร้อยละ 71.3, 70.9 และ 43.0 ตามลำดับ สำหรับความทันเวลาซึ่ง
โรงพยาบาลทุกแห่งจะต้องรายงานมาที่ศูนย์ระบาดวิทยาประจำจังหวัด ภายใน 1 วันหลังจากพบ
ผู้ป่ วยและแพทย์ลงความเห็นเป็นผู้ที่เข้าข่ายสงสัยไข้เลือดออก พบว่า มีจำนวนรายงานผู้ป่ วย
ทันเวลา ร้อยละ 46.6 (104 ราย) สำหรับค่าความไวของระบบรายงาน 506/507 ร้อยละ 30.6
ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 97.9 ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 67.3 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 90.8
สำหรับค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวกและผลลบของการวินิจฉัยของแพทย์
เปรียบเทียบกับนิยามการวินิจฉัยเบื้องต้นเมื่อแพทย์วินิจฉัยไข้เดงกี พบว่าค่าความไว ร้อยละ 23.7
ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 44.4 ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 29.0 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 37.8 ใน
กรณีแพทย์วินิจฉัยเป็นไข้เลือดออก พบค่าความไว ร้อยละ 72.9 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 80.2
ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 77.9 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 75.6 สรุปได้ว่า คุณภาพของการรายงาน
ผู้ป่ วยไข้เลือดออก ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดยโสธร อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะความครบถ้วน
ของการรายงานผู้ป่ วย และ ความทันเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งรัด ควบคุม กำกับ
คุณภาพของการรายงานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ในส่วนของการ
วินิจฉัยของแพทย์ยังใช้นิยามประกอบการวินิจฉัยค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะการวินิจฉัยไข้เดงกี
ดังนั้น ควรมีการอบรมแพทย์จบใหม่เกี่ยวกับนิยามการวินิจฉัยโรคอย่างต่อเนื่องทุกปี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03