การเลือกใช้นวัตกรรมปูนแดงกำจัดลูกน้ำยุงลาย: กรณีศึกษาประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ คงทอง
  • สุทธิรักษ์ พลบำรุง
  • สุพล เซี่ยงใช่
  • ขวัญตา ดวงกุณา
  • ฐิติมา ชายพระอินทร์
  • วิลาสินี วงษ์กลาง

คำสำคัญ:

นวัตกรรมปูนแดงกำจัดลูกนํ้ายุงลาย, การประเมินนวัตกรรมดอนช้าง

บทคัดย่อ

การประเมินการเลือกใช้นวัตกรรมปูนแดงกำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อพัฒนาสู่งาน
ประจำ (R2R) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น
143 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า
กลาง ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.23 เพศชาย
ร้อยละ 30.77 มีอายุตั้งแต่ 14 ถึง 77 ปี อายุเฉลี่ย 48.2 ปี (SD=13.13 ปี ) มีสถานภาพสมรส คู่
มากที่สุด ร้อยละ 69.93 รองลงมาสถานภาพสมรสหม้าย ร้อยละ 17.48 บทบาทในชุมชนเป็น
แกนนำสุขภาพครอบครัว มากที่สุด ร้อยละ 79.74 ประมาณ 3 ใน 4 มีอาชีพเกษตรกรรม มี
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 2,000 ถึง 20,000 บาท (Median 5,000 บาท) มีระดับการศึกษา
สูงสุด ระดับประถมศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 69.23 ด้านเหตุผลการเลือกใช้นวัตกรรมปูนแดง
พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีเหตุผลในการเลือกใช้นวัตกรรมปูนแดงในระดับสูงทุกด้านมากที่สุด
โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และด้านทรัพยากร กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้นวัตกรรมปูนแดงในระดับสูง
ร้อยละ 74.83 และร้อยละ 71.33 ตามลำดับ และพบการเลือกใช้นวัตกรรมปูนแดงในระดับต่ำ
ด้านลักษณะนวัตกรรม และด้านความร่วมมือระหว่างสาขาและโครงการ ร้อยละ 2.80 และร้อยละ
0.70 ตามลำดับ ในการดำเนินงานสุขภาพชุมชนควรมีการจัดทำนวัตกรรมที่ช่วยในการส่งเสริม
สุขภาพ และสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03