ผลการสำรวจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบ กิจการร้านซ่อมรถยนต์ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิภารัตน์ โพธ์ิขี
  • สุภาพร บัวเลิง
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

ร้านซ่อมรถยนต์, อาชีวอนามัย, ความปลอดภัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและความ
ปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ในเขตเทศบาลนครขอนแก่นที่ขอ
อนุญาตกับเทศบาลนครขอนแก่นและเปิดดำเนินการจำนวน 95 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ
ตรวจวัดระดับเสียงดังและแบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์เจ้าของสถานประกอบกิจการและตัวแทน
พนักงานจากการสุ่ม แห่งละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 95 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการ
สำรวจ พบว่า ทั้งหมดตั้งอยู่ในย่านชุมชน ส่วนใหญ่เปิ ดดำเนินการไม่เกิน 6 ปี (ร้อยละ 37.9) เปิ ด
ให้บริการ 9 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 78.9) ให้บริการลูกค้าเฉลี่ย 1-3 คันต่อวัน (ร้อยละ 77.9)
พนักงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.8) เป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 56.4) ส่วนใหญ่
ให้บริการซ่อมเครื่องยนต์ (ร้อยละ 43.16) ส่วนใหญ่เก็บสะสมถังแก๊สออกซิเจนไว้ในร้าน (ร้อยละ
43.8) ไม่มีการตรวจสอบอุปกรณ์การเชื่อม (ร้อยละ 59.5) และไม่ติดตั้งอุปกรณ์ป้ องกันไฟย้อนกลับ
(ร้อยละ 95.2) ไม่มีการตรวจสอบการใช้ถังแก๊ส สายส่งแก๊สอยู่ในสภาพชำรุด แตกลายงา และต่อสาย
ส่งแก๊สไม่ถูกวิธี ส่วนใหญ่ ใช้ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ร้อยละ 74.7) ตรวจสอบปี ละ 1-3 ครั้ง
(ร้อยละ 83.3) โดยผู้ขายถังดับเพลิง พนักงานในร้าน ไม่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในงาน
เชื่อม (ร้อยละ 85.7) และการป้ องกันเพลิงไหม้ (ร้อยละ 62.1) อุปกรณ์ช่วยยกตรวจสอบโดย
พนักงานในร้าน (ร้อยละ 70.3) ระดับเสียงดังอยู่ในช่วง 50.00-83.30 เดซิเบล (เอ) ระดับที่ควรมี
การเฝ้ าระวังเพื่อป้ องกันการสูญเสียการได้ยิน 80 เดซิเบล (เอ) ขึ้นไปพบ ร้อยละ 3.2 พนักงานไม่
ผ่านการอบรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้ องกันอันตราย ไม่สวมใส่ปลั๊กอุดหู (ร้อยละ 94.7) อุปกรณ์ป้ องกัน
อันตรายส่วนบุคคลที่พนักงานส่วนใหญ่สวมใส่ คือถุงมือผ้า (ร้อยละ 54.5) ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ
ประจำปี (ร้อยละ 73.7) ผลการศึกษาพบว่า ด้านความปลอดภัยของสถานประกอบการร้านซ่อม
รถยนต์ส่วนใหญ่ต้องดำเนินการหลายด้าน คือ การป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้ อันตรายจากการ
เชื่อมและการยกวัสดุ โดยเจ้าของสถานประกอบกิจการควรจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงให้เพียงพอและ
เหมาะสมกับชนิดของเชื้อเพลิง ติดตั้งอุปกรณ์ป้ องกันไฟย้อนกลับและตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับการ
เชื่อม ทั้งก่อนและหลังใช้งานเพื่อป้ องกันการเกิดอัคคีภัยและการระเบิด อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ
ป้ องกันอัคคีภัย การใช้ถังดับเพลิง วิธีการเชื่อมแก๊สอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์
ป้องกันอันตรายสำหรับพนักงานและมาตรการบังคับในการให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ด้านอาชีวอนามัย
พบว่าพนักงานส่วนหนึ่งมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินจึงควรมีการเฝ้ าระวัง รวมถึงจัดให้มีการ
ตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับพนักงานตามความเสี่ยง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03