ความสามารถซึมผ่านน้ำของส่วนผสมจากกากตะกอนน้ำเสีย เถ้าหนัก เถ้าลอย และปูนขาว

ผู้แต่ง

  • สุเทพ ศิลปานันทกุล
  • พีรวัฒน์ สินไชย
  • พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์
  • ไกรชาติ ตันตระการอาภา

คำสำคัญ:

ค่าการซึมผ่านของน้ำ, กากตะกอนน้ำเสีย, เถ้าหนัก, เถ้าลอย, ปูนขาว, วัสดุรองพื้นฝังกลบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของกากตะกอนน้ำเสียและวัสดุ
ผสมประเภท เถ้าหนัก เถ้าลอย และปูนขาว และความสามารถในการซึมผ่านได้ของน้ำเมื่อผสมกากตะกอนน้ำ
เสียกับเถ้าหนัก เถ้าลอยและปูนขาว ในอัตราส่วนผสมส่วนต่างๆ ได้แก่ 1, 2, 4, 6, 8, 10, 20, 30, 40 และ
50% โดยน้ำหนักและชั้นส่วนผสมที่ความหนา 5, 10 และ 15 ซม. ตามลำดับ ทำการหาค่าการซึมผ่านของน้ำ
ด้วยวิธี Constant-Head (ASTM D 2434) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ ANOVA และค่าเฉลี่ยที่
วัดได้นำมาเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบ LSD ที่ระดับนัยสำคัญที่ α เท่ากับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะตะกอนน้ำเสียมีอนุภาคหยาบคล้ายดิน (พื้นที่ผิว 0.869 ตร.ม./ก.) เถ้า
หนักมีอนุภาคละเอียดรองลงมา (พื้นที่ผิว 0.296 ตร.ม./ก.) ส่วนเถ้าลอยและปูนขาวมีอนุภาคละเอียดคล้าย
แป้ง (พื้นที่ผิว 0.667 ตร.ม./ก. และ 0.434 ตร.ม./ก.) สารแคดเมี่ยม ตะกั่ว และปรอทเป็นโลหะหนักที่ตรวจ
พบในตะกอนน้ำเสียมีค่าไม่เกินมาตรฐานตามประกาศเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของ
กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อทำการศึกษาค่าการซึมผ่านของน้ำในส่วนผสมที่อัตราต่างๆ พบว่าค่าการซึมผ่านได้
ของน้ำที่อัตราส่วนผสมร้อยละ 50 อัตราเท่ากับ 1.916x10-4 ซม/วินาที แตกต่างจากอัตราส่วนผสมอื่นอย่างมี
นัยสำคัญ (p-value<0.05) และผลการทดลองที่ชั้นความหนา 15 ซม.ให้ความสามารถในการป้องกันการซึม
ผ่านของน้ำสูงสุด (6.498x10-5 ซม./วินาที) (p-value<0.05) อย่างไรก็ตามความสามารถการซึมผ่านของวัสดุ
ผสมยังมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานการซึมผ่านของวัสดุรองพื้นหลุมฝังกลบมูลฝอย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัสดุผสมยังไม่
เหมาะสมสำหรับการนำไปปูเป็นวัสดุรองพื้นในหลุมฝังกลบมูลฝอย แต่บ่งชี้ว่าวัสดุผสมตามเกณฑ์นี้สามารถ
นำไปใช้ในรูปแบบอื่นได้ เช่น การใช้เป็นวัสดุปูรองพื้นแบบผสม (Composite liner) ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ