การเปรียบเทียบผลของปริมาณน้ำตาลในเลือดระหว่างผู้บริโภคแก่นตะวันกับ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6

ผู้แต่ง

  • อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์
  • อัศวิน อมรสิน
  • ศิรินาถ ตงศิริ
  • วรรณิศา ชาวดร
  • ชุติมณฑน์ ปัดถามัง
  • รักษ์สุดา ขันธพัฒน์

คำสำคัญ:

แก่นตะวัน, ข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การศึกษากึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของปริมาณน้ำตาลในเลือดระหว่างผู้บริโภคแก่นตะวัน
และข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 โดยมีอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษา จำนวน 60 คนสุ่มแบบเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่ม
ทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน (โดยมีสัดส่วนเพศชายและหญิงในแต่ละกลุ่มเท่าๆ กัน) โดยกลุ่ม
ทดลองคือผู้บริโภคแก่นตะวันนึ่งสุกและกลุ่มควบคุมคือผู้ที่บริโภคข้าวเหนียวนึ่งสุก (พันธุ์ กข.6) โดย
รับประทานในปริมาณที่เท่ากัน คือ 100 กรัมจากนั้นตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดใช้โดยเครื่องวัดปริมาณ
น้ำตาลในเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว (ACCU-CHEK Performa blood) พบปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังการบริโภค
แก่นตะวันที่ช่วงเวลา 0, 30, 60 และ 90 นาที มีค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำตาลของอาสาสมัครทั้งหมดเท่ากับ
82.2, 90.8, 89.133 และ 86.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ และพบปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังการบริโภค
ข้าวเหนียว มีค่าปริมาณน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ 88.2, 143.267, 148.167 และ 121.733 มิลลิกรัมต่อ
เดซิลิตรตามลำดับ จากผลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มที่บริโภคแก่นตะวันมีแนวโน้มที่ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำตาลใน
เลือดน้อยกว่ากลุ่มที่บริโภคข้าวเหนียว อย่างมีนัยสำคัญส่วนผลการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของ
แก่นตะวันนึ่งสุก พบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิง มีความชอบสี เท่ากับ 3.133 กลิ่นเท่ากับ 3.2.933 เนื้อสัมผัส
เท่ากับ 3.2.833 รสชาติเท่ากับ 2.967 และความชอบโดยรวมเท่ากับ 2.533 จากค่าคะแนนเต็ม 5 ตามลำดับ
ความชอบโดยรวมของทั้งผู้ชายและผู้หญิงอยู่พบในระดับเดียวกันคืออยู่ในระดับที่ไม่ชอบแก่นตะวัน ดังนั้นจึง
จะเห็นได้ว่าการบริโภคแก่นตะวันทำให้แนวโน้มของระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ซึ่งอาจจะไปพัฒนาหรือศึกษา
ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และพัฒนาปรับแต่ง สีกลิ่น เนื้อสัมผัส
และรสชาติของแก่นตะวันให้สอดคล้องกับวิถีการบริโภคของผู้บริโภคต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ