การปรับพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักศึกษาโดยการใช้ค่าคะแนน และแรงจูงใจทางบวก

ผู้แต่ง

  • ณิตชาธร ภาโนมัย

คำสำคัญ:

ความตรงต่อเวลา, เข้าเรียนสาย, แรงเสริมทางบวก

บทคัดย่อ

ความตรงต่อเวลาเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่สำคัญทั้งในสถานที่ทำงาน และในชีวิตประจำวัน. โดยความตรงต่อเวลานั้น
เป็นคุณลักษณะที่ช่วยให้เราสามารถจัดการกับงานหรือสิ่งที่ผ่านเข้ามาได้อย่างรวดเร็ว หรือทันเวลา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ
กึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการใช้แรงเสริมทางบวก ต่อการปรับพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย ในกลุ่มประชากร
นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ลงทะเบียนในรายวิชา 514 101 โภชนาการและสุขวิทยา(Nutrition and hygiene) จำนวน 48 คน
โดยประเมินจากแบบสอบถามและแบบบันทึกเกี่ยวกับความถี่ในการเข้าเรียน ตัวชี้วัดเกี่ยวกับพฤติกรรมความตรงต่อเวลา ได้แก่
เวลาที่มาถึงห้องเรียน รวมไปถึงเวลาที่เข้าเรียนตรงเวลา หรือเข้าเรียนสาย วิเคราะห์สถิติโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานและ Student’ s t test
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของการเข้าเรียนสายเกิดจากนอนตื่นสายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 61.5 รองลงมาได้แก่
ติดเรียน ชม.ก่อนหน้า และหอพักอยู่ไกล คิดเป็นร้อยละ 38.5 เท่ากัน เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเข้าเรียนก่อนและหลังสิ้นสุด
โครงการ ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีพฤติกรรมในการเข้าเรียนดีขึ้น โดยมีการเข้าเรียนเช้า หรือก่อนเวลาดีขึ้น จากเดิมก่อนเข้า
โครงการ มีจำนวนคนเข้าเรียนเฉลี่ย(คน/สัปดาห์) จาก 2 คน/สัปดาห์ หลังให้แรงเสริมทางบวกพบว่าอัตราการเข้าเรียนเช้า หรือ
ก่อนเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 คน/สัปดาห์ นักศึกษาที่เข้าเรียนปกติหรือมาเรียนในเวลาเรียนพบว่าเพิ่มจาก 23.5 คน/สัปดาห์ เป็น
30.4 คน/สัปดาห์ และจำนวนคนขาดเรียนเฉลี่ยจากเดิมก่อนเข้าโครงการเป็น 15.3 คน/สัปดาห์ ได้ลดลงเหลือ 11.0 คน/สัปดาห์
จากการทดสอบทางสถิติ หลังสิ้นสุดโครงการ พบว่า นักศึกษามีจำนวนครั้งเฉลี่ยของการเข้าเรียน เช้า หรือปกติเพิ่มขึ้น และจำนวน
ครั้งเฉลี่ยของการขาดเรียนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (paired t- test, p<0.01) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการให้แรงเสริม
ทางบวก (คำชมเชย/รางวัล) สามารถแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนให้ดีขึ้นได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ