ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง ส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการของประชาชนในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นิรุติ ผึ่งผล
  • อัจฉราวรรณ ยิ้มยัง
  • นงนุช นามวงษ์
  • ภควรรณ เหล่าบัวดี
  • จันทร์จีรา บุญมา
  • เครือวัลย์ แพทนัทธ์
  • ลัดดา เชาว์ศิลป์
  • ทวีรัตน์ ทับทิมทอง

คำสำคัญ:

ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, เจตคติตอพฤติกรรม, การคลอยตามกลุมอางอิง, การรับรูความสามารถในการควบคุมตนเอง, ความตั้งใจตอการกระทําพฤติกรรม, โรคปวดกลามเนื้อหลัง, มูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการของประชาชนในจังหวัดชลบุรี ตัวแปรประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัว ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรมการคล้อยตามกลุ่มอhางอิงการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความตั้งใจต่อการกระทําพฤติกรรม และพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกลามเนื้อหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 20-60 ปี มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างที่มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย ณ โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชลบุรี จํานวน 450 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใชhโปรแกรม LISRELผลการวิจัยปรากฏวjา ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการของประชาชนในจังหวัดชลบุรี มีความสอดคลhองกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีผลการทดสอบ χ2=119.39, p=0.06, GFI=0.97, AGFI=0.95, CFI=0.99, NNFI=0.98, NFI=0.98, SRMR=0.04, RMSEA=0.04 และตัวแปรอิสระทั้งหมดในตัวแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการได้ร้อยละ 72 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8ประการได้แก่ ความตั้งใจกระทําพฤติกรรมการป้องกันโรคและปฏิสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจกระทําพฤติกรรมการป้องกันโรคกับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองต่อการกระทําพฤติกรรมการป้องกันโรคมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ0.69 และ 0.26ตามลําดับ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองต่อการกระทําพฤติกรรมการป้องกันโรค การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการกระทําพฤติกรรมการป้องกันโรค และเจตคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค และ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.53, 0.13 และ 0.03 ตามลําดับ สรุป ความตั้งใจกระทําพฤติกรรมการป้องกันโรค และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมีความสําคัญอย่างมากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการ

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11