การนำทองแดงกลับมาใช้ใหม่จากสารละลายสังเคราะห์ของสารประกอบเชิงซ้อน ทองแดงกับกรดอินทรีย์ที่ได้จากการสกัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสกัดทาง ชีวภาพด้วยเรซิน

ผู้แต่ง

  • ฉัตรฤดี ศิริล ำดวน ศิริลำดวน
  • อำณัติ ดีพัฒนำ

คำสำคัญ:

ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำรสกัดทำงชีวภำพ, กำรดูดซับ, สำรประกอบเชิงซ้อนของ ทองแดงซิเตรท

บทคัดย่อ

การพัฒนาด้านเทคโนโลยีท าให้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสะสมในสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์รวมกับขยะมูลฝอย โดยการฝังกลบที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลจะทำให้เกิดการแพร่ของมลพิษในระบบนิเวศ เมื่อพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีที่ใช้กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์และนำโลหะกลับมาใช้ใหม่จึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจเทคโนโลยีในการนำโลหะจากขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมาใช้ใหม่มีหลายวิธี เทคโนโลยีการสกัดทางชีวภาพเป็นทางเลือกหนึ่งเนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนต่ำ อย่างไรก็ตามเพื่อกำจัดและนำโลหะกลับมาใช้ใหม่ต้องใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมกับการสกัดทางชีวภาพ วิธีที่มีประสิทธิภาพได้แก่ การดูดซับด้วยเรซิน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเรซินที่เหมาะสมในการนำทองแดงจากสารละลายสารประกอบเชิงซ้อนสังเคราะห์เลียนแบบสารประกอบเชิงซ้อนที่ได้จากการสกัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยจุลินชีพหรือการสกัดทางชีวภาพด้วยเทคนิคการดูดซับและคายซับ โดยคัดเลือกเรซิน 3 ชนิด ได้แก่ Chelex 100 Dowex m4195 และLewatit TP260 ระบบในการทดสอบเป็นแบบทีละเทผลการศึกษาพบว่า Dowex m4195 มีประสิทธิภาพการดูดซับมากที่สุด (ร้อยละ 86) และกรดซัลฟูริก 2 โมลสามารถคายซับทองแดงได้ร้อยละ 52 คิดเป็น 31.25 มิลลิกรัมต่อกรัม จากการศึกษาสมดุลการดูดซับด้วยวิธี nonlinear regression พบว่าแบบจำลอง Redlich Peterson สอดคล้องกับสมดุลการดูดซับ แสดงว่าการดูดซับเป็นแบบชั้นเดียวและหลายชั้น ศักยภาพสูงสุดในการดูดซับ (qm) เท่ากับ 88.7 มิลลิกรัมต่อกรัมสรุปได้ว่า Dowex m4195 มีความเหมาะสมในการดูดซับทองแดงจากสารละลายที่ได้จากการสกัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสกัดทางชีวภาพ และนำทองแดงกลับมาใช้ใหม่ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11