พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ําดีและการรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5-6: กรณีศึกษาโรงเรียน ในตําบลม่วงลาย อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นําพร อินสิน
  • ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม
  • กาญจนา วงษ์สวัสดิ์

คำสำคัญ:

มะเร็งทอน้ําดี, พยาธิใบไมตับ, พฤติกรรมเสี่ยง, การรับรู้, วาระคนอีสาน

บทคัดย่อ

การปลูกฝังพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดีในกลุ่มประชากรวัยเรียนเป็นเป้าหมายระยะยาวเพื่อสนองตอบนโยบาย “กําจัดพยาธิใบไม้ตับ ลดมะเร็งท่อน้ําดีวาระคนอีสาน” ของกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ําดี และการรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5-6: กรณีศึกษาโรงเรียนในตําบลม่วงลาย อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ที่มีรายชื่อในทะเบียนรายชื่อนักเรียนปีการศึกษา 2556 จํานวน 126 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า นักเรียนจํานวน 126 คน ได้เข้าร่วมวิจัยจํานวน 111 คน (ร้อยละ88.1) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.4 อายุ 11 ปี ร้อยละ 39.6 และอายุ 10 ปี ร้อยละ28.8 กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ร้อยละ 32.4, 36.0 และ31.5 ตามลําดับ นักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ําดีระดับต่ํา ร้อยละ 88.3 และระดับปานกลาง ร้อยละ 11.7 และไม่มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงระดับสูง สําหรับการรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดี นักเรียนส่วนใหญ่มีการรับรู้ 1) ด้านความรุนแรงของโรคมะเร็งท่อน้ําดี 2) ด้านโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ําดี และ 3) ด้านประโยชน์ของการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดี ระดับปานกลาง ร้อยละ 45.0 48.6 และ43.2 ตามลําดับ ในขณะที่นักเรียนร้อยละ 82.9 มีรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดีระดับต่ํา นอกจากนี้ นักเรียนมีการรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดีในภาพรวมระดับปานกลาง ร้อยละ 69.4 และระดับสูง ร้อยละ 9.9 ผลการศึกษาจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการให้ความรู้และรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ําดีให้แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ